Making handicraft from old sticks on the basis of the King ‘s speech “Sufficiency Economy”

โดย สุรพันธ์ จันทนะสุต

ปี 2552

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยการสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเศษไม้เก่าเพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองแนวทางพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วัสดุที่เหลือใช้มาสร้างให้เกิดประโยชน์ โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เก่าเพื่อเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือกลุ่มผู้ประกอบการ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เก่าเพื่อลดปริมาณการใช้ไม้ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากผู้ประกอบการเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเศษไม้เก่าในรูปแบบของผู้วิจัย จากการที่ได้ทำการทดลองวิธีการสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเศษไม้เก่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลคิดเป็นร้อยละค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับความต้องการซือ้ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเศษไม้เก่าผลิตภัณฑ์กรอบรูป มีความต้องการซือ้ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28
2. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กรอบรูปทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 26
3. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์นาฬิกาแขวนผนังทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10
4. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ชัน้ วางของแบบแขวนผนังทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30
5. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โคมไฟตัง้ โต๊ะทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74
6. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เรือใบจำลองทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40
7. ระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กล่องใส่เครื่องประดับทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 10

The objectives of this research are to respond theroyal speech ‘ sufficiency economic philosophy’ by turning some materials back into useful products, to create interesting handicraft made from old wood chips, to construct the prototype of product in order to promote and earn the income to community and to examine the information about the creation of products made from old wood chips to reduce the amount of wood use. The data are obtained by wood entrepreneurs. The research instruments are the expert questionnaire and the questionnaire of satisfaction. The data are analyzed as mean.

The results have shown that:

1. The demand level of a picture frame is the highest at the percentage of 28.
2. The satisfaction level of the design of a picture frame is the highest at the percentage of 26.
3. The satisfaction level of the design of a wall clock is the highest at the percentage of 10.
4. The satisfaction level of the design of a wall shelf is the highest at the percentage of 30.
5. The satisfaction level of the design of a table lamp is the highest at the percentage of 74.
6. The satisfaction level of the design of a miniature sailboat is the highest at the percentage of 40.
7. The satisfaction level of the design of a jewel case is the highest at the percentage of 10

DOWNLOAD : การสร้างผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เก่าเพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง