A machine for split the bamboo scraps from glutinous rice roasted in bamboo joints

โดย สมศักดิ อิทธิโสภณกุล, อนินท์ มีมนต์ และศุภเอก ประมูลมาก

ปี 2553

บทคัดย่อ

เครื่องจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลามที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีขนาด 48x65x98 เซ็นติเมตร ใช้กำลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ½ แรงม้า (0.4 Kw) เครื่องจักตอกมีความสามารถในการจักตอกโดยเฉลี่ย 36 เมตร/นาที โดยมีความเร็วสูงสุดในการจักตอกให้ได้เส้นตอกที่มีคุณภาพดีจะเท่ากับ 4,320 เส้น ผลการทดลองจักตอกด้วยไม้ไผ่แบบปล้องเดียวที่ความหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 38 เซ็นติเมตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่คุณภาพดี อยู่ในช่วง 79-69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อนของความหนาอยู่ในช่วง ±0.02 มิลลิเมตร ผลการทดลองจักตอกด้วยไม้ไผ่แบบสองปล้องเดียวหรือแบบไม้ข้อไม้ไผ่ที่ความหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 70 เซ็นติเมตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่คุณภาพดี อยู่ในช่วง 77-69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อนของความหนาอยู่ในช่วง ±0.03 มิลลิเมตร จ านวนเส้นตอกที่เป็นของเสียมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างของใบมีดมีค่าเพิ่มขึ้น หรือความหนาของเส้นตอกเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของเส้นใยที่เป็นองค์ประกอบของล าต้นอยู่ในลักษณะเส้นในแนวนอน เมื่อได้รับแรงเฉือนจากใบมีด และด้วยลักษณะของเส้นตอกที่มีความบางจะท าให้เกิดการเปลี่ยนรูปร่างของเส้นตอก ในลักษณะที่มีเนื้อไม้ไผ่ไม่เต็มตลอดความยาวของเส้น การจักตอกด้วยเครื่องที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีต้นทุนเฉลี่ย 1.27 บาท ต่อการจักตอก 50 เส้น ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่ กำละ 5 บาท เครื่องจักตอกสามารถสร้างกำไรให้เกิดขึ้นจากการผลิตตอกเพื่อจำหน่ายได้ และเมื่อตอกได้รับการเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านสร้างเป็นงานหัตถกรรมจักสาน เน้นการออกแบบร่วมสมัย หรือผลิตเป็นเครื่องจักสานที่ใช้สอบในชีวิต ประจำวัน สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตอกไม้ไผ่ได้อีกหลายเท่า รวมทั้งลดปัญหาการเผาไม้ไผ่ที่เหลือใช้ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกช่องทางหนึ่ง

DOWNLOAD : เครื่องจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม