Potential Assessment for Bagasse Drying using Heat Recovery in Sugar Factory
โดย ประพนธ์ ชูประเสริฐ และ เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ
ปี 2554
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาลขนาดอัตราการหีบอ้อย18,000 ตันอ้อยต่อวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแหล่งพลังงานความร้อนทิ้งมาใช้ในการอบลดความความชื้นกากอ้อย และประเมินพลังงานที่สามารถประหยัดได้ ในการวิเคราะห์การใช้พลังงานจะเริ่มต้นโดยการทำสมดุลพลังงานและมวลสำหรับกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายและกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ระดับความดันไอน้ำของเครื่องกำเนิดไอน้ำ 41 บาร์ อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส ความดันออกจากกังหันไอน้ำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาล 2.5 บาร์ อุณหภูมิ 127 องศาเซลเซียส จากการประเมินเปรียบเทียบปริมาณพลังงานความร้อนที่ระบายอออกมาระหว่างปล่องควันเครื่องกำเนิดไอน้ำ กับทางออกของกังหันไอน้ำชนิดคอนเดนเซอร์ จากการศึกษาพบว่า พลังงานความร้อนที่ได้จากทางออกของกังหันไอน้ำชนิดคอนเดนเซอร์สามารถนำมาใช้ลดความชื้นให้กับเชื้อเพลิงกากอ้อยได้ นอกจากนี้จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า เชื้อเพลิงกากอ้อยเมื่อความชื้นลดลงจาก 50% มาตรฐานเปียกเหลือ 40% มาตรฐานเปียก จะส่งผลให้ อัตราการป้อนเชื้อเพลิงกากอ้อยลดลงจาก 71.0 ตันต่อชั่วโมง เหลือ 56.3 ตันต่อชั่วโมง สามารถประหยัดเชื้อเพลิงกากอ้อยได้ 95,550 ตันต่อปี คิดเป็นอัตราการผลิตไอน้ำได้ 215,895 ตันต่อปี จะสร้างรายได้ให้กับโรงงาน เพิ่มขึ้นจากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า ประมาณ 86,733,812 บาทต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุน 1.1 ปี
DOWNLOAD : Potential Assessment for Bagasse Drying using Heat Recovery in Sugar Factory