โครงการย่อย : ชุดที่ 3 การศึกษาวิธีการทำใบบาง จากใบบัวหลวง และ แนวโน้มในการพัฒนาสู่การทำผลิตภัณฑ์
The Study of Bai – Bang Process from Lotus Leaves and Its Possibility to Products Development
ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง พัฒนาการของบัวไทยในงานพื้นฐานอุตสาหกรรม
Development of Thai Lotus in Basic Industrial

โดย อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์, เสริมศรี สงเนียม

ปี 2553

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง วิธีการทำใบบาง จากใบบัวหลวง และแนวโน้มในการพัฒนาสู่การทำผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการทำ ใบบางจากใบบัว และ พัฒนาผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ และเสริมแนวคิดในการนำใบบางสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ เน้นการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ในเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์

วิธีการศึกษา กรรมวิธีการทำใบบางจากใบบัวหลวง โดยการทดลอง มีปัจจัยที่ทำการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ ปัจจัยแรก คือ ชนิดของใบบัวหลวง มีจานวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ใบบัวหลวงสายพันธุ์สัตตบุษย์ ใบบัวหลวงสายพันธุ์สัตตบงกช และใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี และปัจจัยที่สอง คือ กรรมวิธีการทาใบบาง โดยการทดลอง 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 การหมักใบบัวด้วยวิธีธรรมชาติ (การแช่ในน้าสะอาด) ใช้เวลา 7 วัน , 14 วัน และ 21 วัน และ วิธีที่ 2 การหมักใบบัวในน้าที่มีสบู่กรดเป็นส่วนผสมในปริมาณของสบู่กรด 1 ก้อน ต่อปริมาณของน้า 25 ลิตร และปริมาณของสบู่กรด 2 ก้อน ต่อปริมาณของน้า 25 ลิตร ใช้เวลา 7 วัน , 14 วัน และ 21 วัน

สรุปผลการศึกษา พบว่า การหมักใบบัวด้วยวิธีธรรมชาติ (วิธีที่1) โดยการแช่ใบบัวด้วยน้าสะอาด พบว่า ใบบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช ใช้ระยะเวลา 21 วัน สามารถทาใบบางออกมาได้ดีที่สุด เนื่องจากใบบางยังคงสภาพความสมบรูณ์ ของโครงสร้าง หรือเส้นใยของใบได้ดี ซึ่งเหมาะที่จะนาใบบางไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ ส่วนผลของใบบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์ และ ใบบัวหลวงพันธุ์พระราชินีที่ได้ คือ คลอโรฟิลล์และเยื่อของใบบัวหลุดออกน้อยมาก เพียงระยะเวลา 7 วัน ใบบัวจะเปื่อยและเน่าเสีย ไม่สามารถทาเป็นใบบางได้ ข้อดี ของการทดลองวิธีที่ 1 คือ จะได้ใบบางที่มีคุณภาพเส้นใยจะมีความแข็งแรง และสมบรูณ์ ข้อเสีย คือ ใช้เวลานาน

DOWNLOAD : The Study of Bai – Bang Process from Lotus Leaves and Its Possibility to Products Development