โครงการย่อย : ชุดที่ 1 การศึกษาวิธีการแยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวง สายพันธุ์พระราชินีและความเป็นไปได้ในการนำเส้นใยมา ผลิตเป็นเส้นด้าย The Exploration of the Separation of Fiber Method From Nelumbo Nucifera Gaertn (Lotus) Leaf Stalk and Examining the Development of Lotus Fiber into Thread
ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง พัฒนาการของบัวไทยในงานพื้นฐานอุตสาหกรรม Development of Thai Lotus in Basic Industrial

โดย อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์, มาลา ฤทธิ์นิ่ม, สุทธิลา สวนาพร, เฉลียว หมัดอิ๊ว

ปี 2553

บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการแยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี และความเป็นไปได้ในการนำเส้นใย มาผลิตเป็นเส้นด้าย โดยทาการศึกษาวิธีการแยกเส้นใย 3 วิธี ดังนี้ วิธีที่หนึ่ง แยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี โดยการหมักในน้าขี้เถ้าเป็นเวลา 17 วัน วิธีที่สอง แยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี โดยการต้มในน้าขี้เถ้าเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ที่ระดับความเข้มข้น 5%, 10% และ 15% ตามลาดับ และวิธีที่สาม แยกเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี โดยการต้มในสารละลายโซดาไฟเป็นเวลา 20 นาที ที่ระดับความเข้มข้น 1% , 2% , 3% , 5% และ 7% ตามลาดับ

จากการทดลองศึกษาวิธีการแยกเส้นใยทั้ง 3 วิธี พบว่า เส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินี ที่แยกเส้นใยโดยการต้มในสารละลายโซดาไฟเป็นเวลา 20 นาที ที่ระดับความเข้มข้น 2% มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่มมีสีเหลืองอ่อน และได้ปริมาณเส้นใย 2.34% เส้นใยมีค่าความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 17.34 นิ้ว หรือประมาณ 78.8% ต่อความยาวของก้านใบบัวหลวงที่มีความยาวโดยประมาณ 22 นิ้ว ส่วนผลการศึกษาค่าเฉลี่ยความแข็งแรงต่อแรงดึง 143.218 Cn และค่าเฉลี่ยการยึดตัวของเส้นใย เท่ากับ 1.674 mm

เมื่อนาเส้นใยจากก้านใบบัวหลวงสายพันธุ์พระราชินีที่ได้จากวิธีการแยกเส้นใยดังกล่าวข้างต้นไปปั่นเป็นเส้นด้าย พบว่า มีความสามารถในการปั่นเป็นเส้นด้ายได้ และสมบัติทางโครงสร้างของเส้นด้ายที่ได้จากการปั่น มีค่าแรงดึงขาด เท่ากับ 13.93 นิวตัน และมีการยืดตัวขณะขาดเท่ากับ 2.85 %

DOWNLOAD : The Exploration of the Separation of Fiber Method From Nelumbo Nucifera Gaertn (Lotus) Leaf Stalk and Examining the Development of Lotus Fiber into Thread