Creation of Contemporary Pattern of Textile from Thai Lanna Style

โดย ใจภักดิ์ บุรพเจตนา

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

ลวดลายผ้าทอตีนจกบ้านหาดเสี้ยวของชาวไทพวน มีชื่อเสียงด้านความงามของสีสันและลวดลายที่แสดงเอกลักษณ์ของผ้าทอล้านนา กลุ่มชาวไทพวนมีที่มาจาก กลุ่มชาวไทที่อยู่ในดินแดนล้านนา ที่ได้มีการสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้าต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดให้บุคคลทั่วไปได้ตระหนักในคุณค่าความงามของลวดลายผ้าไทล้านนาในรูปแบบร่วมสมัยโดยการเชื่อมโยงความงามของงานศิลปหัตถกรรมในอดีต มาสู่งานศิลปะสิ่งทอในปัจจุบัน และเป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าเชิงสร้างสรรค์ด้านศิลปะสิ่งทอไทยให้คงอยู่สืบไป

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ของลวดลายผ้าทอตีนจก ของบ้านหาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และนำผลดังกล่าวมาประยุกต์เป็นต้นแบบลวดลายของผ้าไทล้านนารูปแบบร่วมสมัย ให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน วิธีการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ภาคทฤษฎี และการสร้างสรรค์ภาคปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 2) วิเคราะห์ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ 3) พัฒนาสร้างสรรค์ลวดลาย 4) คัดเลือก ประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ผู้ผลิตและผู้บริโภค 5)จัดทำต้นแบบลวดลายผ้าไทล้านนาแบบร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่า ลายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้า มี 9 ลาย ที่มาของลายมาจากรูปแบบของสัตว์และลายเรขาคณิต การจัดวางลายมีลักษณะแบบสมมาตร โครงสร้างของลายมีลาย

หลักและลายประกอบ การใช้สีเป็นสีตัดกันวรรณะร้อน สีเอกลักษณ์คือ ลายสีเหลือง เขียว บนพื้นสีแดง และลายที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ลายมนสิบหก ลายสิบสองหน่วยตัด และลายเครือใหญ่เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (30 ลาย) ผลสรุปการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีการคัดเลือกแบบกลุ่มที่ 2 มากที่สุด สรุปความพึงพอใจของกลุ่มผู้ผลิตคัดเลือกแบบกลุ่มที่ 1 มากที่สุด กลุ่มผู้บริโภคคัดเลือกแบบกลุ่มที่ 1และ 2 เป็นจำนวนเท่ากันมากที่สุด และจากการนำลายกลุ่มที่ 2 นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบ และนำไปประเมินผล/คัดเลือกลายได้ตามลำดับคือแบบที่ 2, 6, 5, 8 และ 10 นำผลมาสร้างสรรค์เป็นต้นแบบลวดลายผ้าไทล้านนาแบบร่วมสมัย 5 รูปแบบ โดย 1 รูปแบบประกอบด้วย 5 ชุดสี พร้อมกำหนดวัตถุดิบ การผลิตและการตกแต่งด้วยเทคนิคต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน

The people who live in Hadseo nowadays are descendent of Thai-Puan which is a tribe of Thai in the North of Thailand which known as Lanna area. “TEENJOK” weaving is one of products of Thai-Puan tribe which is famous of its beauty and unique weaving. Patterns of the weaving have been inherited from generation to generation. The researcher takes the beauty of Thai Lanna weaving patterns to develop into contemporary style.

This research has purpose of making contemporary pattern from unique weaving patterns of “TEENJOK”

that produces in Hadseo district, Amphor Srisatchanalai, Sukhothai province for development to commercial purpose.

Method of research -The research was carried out as follows:

1. Collect “TEENJOK” weaving patterns of Hadseo.

2. Study the unique of weaving pattern of “TEENJOK” textile.

3. Develops the patterns.

4. Examined and selected by experts, producers and consumers.

5. Create contemporary style of weaving pattern.

Presentation -There are 9 favorite patterns in the weaving of “TEENJOK” textile of Hadseo district. Each pattern consists of main symmetric geometric form of animals, and decorated by composite forms. The textile has contrast colors, mostly yellow, green on red background. Popular patterns as “SIBSONGNUAYTAD”, “MONSIBHOK” and “KRUAYAI” were developed and categorized into 3 groups. From our research, experts prefer the samples of 2nd group, producers prefer the samples of 1st group and consumers prefer the samples of 1st and 2nd group. Popular patterns of 2nd group, Nos. 2, 6, 5, 8 and 10, were selected. They could be developed for new patterns each consists of 5 colors in different materials and styles that meet with requirement of present consumers.

 

DOWNLOAD : การสร้างสรรค์ต้นแบบลวดลายผ้าไทล้านนาแบบร่วมสมัย