A Study of Teacher Motivations Affecting the School Effectiveness Under Pathumthani Primary Education Service Area Office 2

โดย พัชรี  เหลืองอุดม

ปี (2554)

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับของแรงจูงใจ (ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน) ในการปฏิบัติงานของครู และ 2) ศึกษาระดับของประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ (ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน) ในการปฏิบัติงานของครู กับประสิทธิผลของสถานศึกษาและ 4) ศึกษาระดับของแรงจูงใจ (ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน) ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒

กลุ่มตัวอย่างเป็นครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒  ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๒๘๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูด้านปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระกว่างแรงจูงใน (ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน) กับประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก แรงจูงใจของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมที่มีอำนาจการพยาการณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒  ตัวแปรทั้ง ๒ ปัจจัย สามารถทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒  ได้ร้อยละ ๖๘.๘๐  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๑

The purpose of this research were 1) to study a level of teacher’s motivation for operation of education and 2) to study school effectiveness level of Pathumthani Primary education in Area Office 2 and 3) to find therelayionship between the motivation of teacher and effectiveness of primary education in Pathumthani Education Service Area Office 2

The samples used in this study were 280 teachers under Pathumthani Education Service Area Office 2. The research instrument used for collecting data were five level rating scale questionnaire. Mean, standard deviation,Pearson product moment correlation and multiple regression analysis were used in analyzing data.

Research findings show that teacher’s motivation (both motivation factor and hygiene factor) for operation and effectiveness of primary education in Pathumthani Education Service Area Office 2 were rated at a high level. Correlation between teacher’s motivation (motivation factor and hygiene factor) and effectiveness of education had the positive correlation. A motivation of motivation factor and overall hygiene factor which has power to predict effectiveness of edution in Pathumthani Education Service Area Office 2, the two factor can predict education’s effectiveness to be equal to 68.80% were found significantly correlated at 0.1 level

 

Download : การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานีเขต 2