The perception of consumers towards marketing communication that affected ICHITAN brand image in Bangkok
โดย มาลินี มาลีคล้าย
ปี 2554
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่มีผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า อิชิตัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภค ที่มีผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าอิชิตันโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่เคยบริโภคตราสินค้าอิชิตัน 400 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และทดสอบความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม ขึ้นไป หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคมีการรับรู้ภาพลักษณ์ต่อตราสินค้าอิชิตัน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับด้านคุณค่าตราสินค้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้มากที่สุด ด้านตราสินค้ากับด้านของบริษัท ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้มาก และการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ภาพลักษณ์ก่อนและหลังน้ำท่วม ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ปานกลาง ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ไม่แตกต่างกัน และมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของตราสินค้าอิชิตัน ทั้งด้านการโฆษณา ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย และ ด้านการตลาดทางตรง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
The purposes of this independent study were to the demographic of the consumers, including gender, age, status, education, occupation and income effecting in ICHITAN brand name image to study the relationship between consumers’ perception of marketing communications with ICHITAN brand name image. The samples consisted of 400 consumers who have consumed ICHITAN brand name in Bangkok by using the questionnaire as date collection. Statistical analysis used Percentage, Mean, Standard Deviation, differences test between mean of two populations (Independent Samples t-test) and One-Way ANOVA for more than two populations, Least Significant Difference (LSD) and Pearson Product Moment Correlation analysis. The result study found that consumer perception of ICHITAN brand name image in social responsibility to the brand equity was in the highest level brand name of the company was in highest level and image changes before and after the floods was in moderate level. Most of consumer perception in image brand was non-significant and there were positive relationships between marketing communications with ICHITAN brand name in advertising, public relations, promotion and direct marketing.