Services quality of personnel welfare : A case study of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย ดารณี คงเอียด

ปี 2554

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการด้านสวัสดิการต่อบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานราชการพนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างประจำ จำนวน 300 ตัวอย่าง โดย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า Independent Samples t-test ใช้เมื่อ มีข้อมูล 2 กลุ่ม ส่วนค่า One-Way ANOVA (F-test) ใช้เมื่อมีข้อมูลมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ถ้าพบว่ามีความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยใช้ LSDผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านข้อมูลส่วนบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 36-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพสมรส มีอายุงานมากกว่า 15 ปีขึ้นไป รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีสถานะ/ตำแหน่งงานเป็นข้าราชการ ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับปัจจัยคุณภาพการบริการในภาพรวมและรายด้านพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยด้านเพศ ไม่มีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการใน ภาพรวมและทุก ๆ ด้าน ส่วนด้านรายได้มีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในภาพรวมและทุกๆด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุมีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในภาพรวมและเกือบทุก ๆ ด้านยกเว้นคุณภาพด้านการให้ความสำคัญ สถานภาพมีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้เพียงด้านเดียวเช่นเดียวกับอายุงานมีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในด้านการให้ความเชื่อมั่นด้านเดียวและสถานะ/ตำแหน่งมีความแตกต่างกับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในภาพรวมและด้านความเป็นรูปธรรม ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้และด้านการให้ความเชื่อมั่นและปัจจัยการให้บริการด้านสวัสดิการโดยรวมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการค่อนข้างสูง ส่วนด้านอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง.

The independent study was carried out to investigate the service quality of the personnel welfare of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The study used 300 samples which comprised government officials, government employees, and university employees of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The data were collected through the application of questionnaires and analyzed applying Frequency, Percentage, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA (F-test) and Least Significant Difference. The results of study showed that most respondents were female, between 36-40 years old, graduated with Bachelor’s degree, married, had more than 15 years of work experience, earned a monthly income less than 15,000 Baht, and were government employees. Regarding the personnel’s opinion towards the service quality of the personnel welfare, it was found that the opinion on overall aspects and each aspect of the service quality were at a moderate level. The results of hypothesis testing revealed that the gender made no difference in overall aspects of the service quality, however, the income caused difference in overall aspects and each aspect of the service quality at 0.05 level of significance. The age caused difference in overall aspects and in almost every aspect of the service quality except in the aspect of responsiveness. The marital status caused difference in the aspect of reliability as well as the work experience also caused difference in the aspect of assurance. The marital status and work position caused difference in overall aspects of the service quality and in the aspects of tangible, reliability, and assurance. The overall aspects of the welfare services demonstrated a rather high-level relationship with the service quality, however, the other aspects were found at a moderate level.

Download : Services quality of personnel welfare : A case study of Rajamangala University of Technology Thanyaburi