The Development of Women’s Pattern Making by the Anatomy Principle

โดย จารุต ภิญโญกีรติ, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม และสุภา จุฬคุปต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปร่างสตรีตามหลักกายวิภาคศาสตร์ 2) ทำแบบตัดเบื้องต้นของสตรีรูปร่าง 4 ลักษณะ ตามการวัดตัวตามหลักกายวิภาคศาสตร์ 3) เปรียบเทียบการทำแบบตัด และตัดเย็บชุดเกาะอกของสตรีรูปร่าง 4 ลักษณะจากเนื้อผ้า 4 ชนิด 4) การสารวจความพึงพอใจของสตรีกลุ่มตัวอย่างรูปร่าง 4 ลักษณะ และความพึงพอใจของผูเชี่ยวชาญ ที่มีต่อชุดเกาะอกทั้ง 4 รูปร่าง กลุ่มทดลองเป็นช่างเย็บผ้าของห้องเสื้อเพชร วัดตัวทำแบบตัดด้วยหลักกายวิภาคตามขนาดตัวสตรี Sizes XL รูปร่างพิเศษ 4 รูปแบบคือ ทรงแอปเปิ้ล ทรงลูกแพร ทรงกลม และทรงนาฬิกาทราย ตัดเย็บชุดราตรีเกาะอกด้วยผ้า 4 ชนิด ได้แก่ ผ้าซาทีน ผ้าชีฟอง ผ้าไหม และ ผ้าทาฟฟิต้า ศึกษาเวลามาตรฐานของการทาแบบตัดด้วยหลักกายวิภาค และสารวจความพึงพอใจของการสวมใส่ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวน One-Way ANOVA ผลการทดลองพบว่า 1) รูปร่างสตรีตามหลักกายวิภาคศาสตร์ ทั้ง 4 รูปแบบมีขนาดตัวเฉลี่ย คือรอบอก 88.57 ซม. รอบเอว 74.66 ซม. รอบสะโพก 96.89 ซม. 2) เวลาทาแบบตัดเบื้องต้นและดัดแปลงเป็นชุดราตรีเกาะอก ของสตรีรูปร่าง 4 ลักษณะ มีค่าเฉลี่ยคือ 22.25 นาที 3) เวลาของการตัดเย็บชุดเกาะอกของสตรีรูปร่าง 4 ลักษณะ พบว่า ผ้าทาฟฟิต้าใช้เวลาน้อยที่สุดคือ 351.50 นาที 4) การสำรวจความพึงพอใจของสตรีกลุ่มตัวอย่างรูปร่าง 4 ลักษณะ พบว่าด้านการสวมใส่ และด้านเนื้อผ้า ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ 4.89 ตามลาดับ

Download : The Development of Women’s Pattern Making by the Anatomy Principle