Increasing the Efficiency of Pattern and Sample Making by Techniques of Flat Pattern, Draping and Computer Program in Thai Garment Industries

โดย สาคร ดาริธรรมาภรณ์, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม, และสุทัศนีย์ บุญโญภาส 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานักทำแบบตัดและเสื้อตัวอย่างของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย 2) พัฒนาเทคนิคการทำแบบตัดและเสื้อตัวอย่างของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย 3) เพิ่มประสิทธิภาพการทำแบบตัดและเสื้อตัวอย่างด้วยเทคนิคการทำแบบตัดบนกระดาษ บนหุ่น และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มทดลองเป็นนักทำแบบตัดและเย็บเสื้อตัวอย่างของบริษัท ยัสปาล จากัด ทดลองทำ แบบตัดและตัดเย็บเสื้อตัวอย่าง 3 เทคนิค คือ เทคนิคทำแบบตัดบนกระดาษ บนหุ่น และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ จากแบบเสื้อธรรมดาและแบบแฟชั่น ศึกษาเวลามาตรฐานด้วยนาฬิกา ออกแบบคู่มือการอบรม ให้ความรู้ ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม สารวจความพึงพอใจในการสวมใส่เสื้อ กลุ่มทดลอง ประกอบด้วย นักออกแบบ และนางแบบ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวนเวลา ด้วย One-Way ANOVA และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) นักทาแบบตัดมีความรู้ มากกว่าก่อนการอบรมร้อยละ 40 2) แบบเสื้อธรรมดาและแฟชั่น ที่ทาแบบตัดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ เวลาน้อยที่สุดคือ 86.21, 139.11 นาที และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการทำแบบตัดทั้ง 3 เทคนิคในแบบเสื้อ ธรรมดาพบว่าทั้ง 3 เทคนิคมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแบบเสื้อแฟชั่นเทคนิค บนกระดาษกับบนหุ่นและเทคนิคบนกระดาษกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ประสิทธิภาพการทำแบบตัดเสื้อรูปแบบธรรมดาและรูปแบบแฟชั่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.00 และร้อยละ 58.55 และความพึงพอใจของผู้สวมใส่เสื้อที่ทำแบบตัดด้วยเทคนิคบนหุ่น ทั้งแบบธรรมดา และแฟชั่นได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ร้อยละ 77.79, 90 ตามลำดับ

Download : Increasing the Efficiency of Pattern and Sample Making by Techniques of Flat Pattern, Draping and Computer Program in Thai Garment Industries