The development of local curriculum for inheriting local wisdom on courtier doll molding
โดย กนกวรรณ งามฉวี
ปี 2554
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้การปั้นตุ๊กตาชาววัง กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การปั้นตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 21 คน และครูผู้สอนจำนวน 11 คน จากโรงเรียนป่าโมกข์วิทยาภูมิ โรงเรียนบางเสด็จวิทยาคม ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้การปั้นตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติคือ ดินเหนียว ขึ้นรูปโดยปั้นให้มีลักษณะคล้ายคน มีสัดส่วนที่เหมาะสมสวยงามประกอบด้วย ส่วนหัว ลำตัว ขา และแขน ทำการเผา ตกแต่งและระบายสี การปั้นตุ๊กตาชาววังมีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญคือ การปั้นผลไม้ การประดิษฐ์เครื่องดนตรี เครื่องสาย โดยมีการจัดชุดตุ๊กตาชาววังตามประเพณีของท้องถิ่น 2)กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ถ่ายทอดผ่านครูภูมิปัญญาสู่บุคคลในครอบครัว รวมถึงบุคคลในท้องถิ่น และผู้สนใจ การถ่ายทอดใช้วิธีการ การปั้นพร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมา อุปสรรคสำคัญในการสืบสานความรู้คือ ผู้รับการถ่ายทอดเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นทำให้การรับทอดไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นคือ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทำให้การถ่ายทอดสะดุดลง 3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การปั้นตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ประกอบด้วยแนวคิด หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เวลาการจัดการเรียนรู้แนวการจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับผู้เรียน จากผลการวิจัยดังกล่าว สรุปได้ว่า องค์ความรู้การปั้นตุ๊กตาชาววัง เป็นองค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดผ่านครูภูมิปัญญา ที่สามารถสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่จะนำไปใช้ในสถานศึกษาได้ โดยมีองค์ประกอบหลักสูตรครบถ้วนตามหลักวิชาการ ซึ่งการมีการนำหลักสูตรนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายก็จะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยอันมีคุณค่าให้คงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป
The objectives of this thesis were to study knowledge of courtier doll molding, the process of transmitting knowledge of local wisdom teachers at Bangsadet subdistrict, Pamok district, Angthong province and develop local curriculum on Banbangsadet courtier doll molding. Tools were, interview on courtier doll molding curriculum. Target group consisted 21 local wisdom teachers, and 11 teachers of Pamokwitthayapum School, Bangsadetwittayacom at present. Findings are as follow; 1) the knowledge of Bangsadet courtier doll molding, material are derived from natural clay.Forming an images of people with beautiful and appropriate size composing of head, body, legs and arms, with different decorative colors. Courtier doll molding has other important components such as fruit molding, musical instrument invention with taking a set of courtier doll on local tradition. 2) The process of knowledge transmitting are transferred from local wisdom teachers to family members, local ones and interested individuals. Knowledge were transmitted by molding with an informative a story. The significant obstacle in knowledge inheriting is the change of occupation and study in higher education as a result, it will have a transmission disruption. 3) Local curriculum development on Banbanggsadet courtier doll molding consist of concepts, principles, course objectives, course structure, learning time, learning method, measurement and assessment, learning unit, learning content, expected result of learning, standard of learning and appropriate indicators for learners. From the research results, can be showed the knowledge of courtier doll molding is knowledge that is transmitted through local wisdom teachers. The knowledge can create a local curriculum that will be used in the school, which there are the curriculum component as academic theory. If the implementation of this curriculum has been widely used, these performances of preserve valuable Thai wisdom and Thai society remain to the next.
Download : The development of local curriculum for inheriting local wisdom on courtier doll molding