Factors leading to stress in operation of organizing exhibitions and events : case study a event management limited
โดย พัทธ์ พิทักษ์สฤษดิ์
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท เอ อีเว้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยพนักงานระดับปฏิบัติงานของบริษัท เอ อีเว้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 261 คน โดยมีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ค่าทดสอบเอฟ ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 3 กลุ่มขึ้นไปโดยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ และค่าสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองตัว
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานในระดับปฏิบัติการเกิดอาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึกความเครียดในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย ๆ พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท เอ อีเว้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่มีเพศต่างกันจะมีระดับความเครียดในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกันแต่พนักงาน ที่มีอายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภาระทางครอบครัวต่างกันจะมีระดับความเครียดในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยในการปฏิบัติงานด้านบทบาทและความรับผิดชอบในหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน ในทางกลับกันปัจจัยในการปฏิบัติงานด้านลักษณะงานด้านสัมพันธ์ภาพในที่ทำงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และด้านระยะเวลาในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงาน
The purposes of this independent study were to investigate the individual factors and the performance factors that caused stress among the operation staff of A Event Management Company Limited.
The sample of this study consisted of 261 operation staffs of A Event Management Company Limited. The questionnaires was used as the data collection instrument, and the data were analyzed using Mean, Percentage, Standard Deviation, t-test for comparing the mean of two populations, F-test for comparing more than two populations with One-Way ANOVA, Scheffe’s method for paired difference test, and Pearson’s Correlation Coefficient for analyzing between two variables.
The results of the study showed that the operation staff often had stress at the high level. The operation staffs who had different gender had no differences in the levels of stress. However, the operation staffs who had different age, marital status, work position, work experience, average monthly income and family burden demonstrated differences in the level of stress at 0.05 level of significance. The performance factors in the aspects of the roles and responsibilities in work had no relationship with the stress among the staff. On the other hand, the performance factors in the aspects of work types, relationship at work, advancement, success in career, environment at workplace and duration of work had relationship with the stress at work among the operation staff.