Work Safety Behavior of Production Employees at CTS Electronics Corporation (Thailand)
โดย เสาวณีย์ เผ่าเมือง
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ซีทีเอส อิเล็กทรอนิกส์ คอร์เปอร์เรชั่น (ประเทศไทย)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัท ซีทีเอส อิเล็กทรอนิกส์ คอร์เปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำนวน 150 คน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย ค่า Independent Sample t-test และค่า F-test (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation Coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 26 – 30 ปี และมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีสถานภาพโสด ปฏิบัติงานในตำแหน่ง Conventional line มีอายุงานในบริษัทมากกว่า 3 ปี ขึ้นไป ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุและให้ระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยด้านศึกษาอยู่ในระดับมาก ด้านการออกกฎข้อบังคับอยู่ในระดับปานกลางและด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางและให้ระดับความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการอยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลางและด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานที่ปฏิบัติและอายุงานที่ทำงานในบริษัทที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านภาพรวมในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญ
The study was conducted to investigate the factors that affected work safety behavior of production employees at CTS Electronics Corporation (Thailand).
The sample consisted of 150 production employees of CTS Electronics Corporation (Thailand). The data were collected through questionnaires and analyzed applying descriptive statistics which comprised Frequency, Percentage, Means, and Standard Deviation, as well as inferential statistics which consisted of Independent Sample t-test, F-test (One-Way ANOVA) and Pearson’s Correlation Coefficient. The level of significance was set at 0.05.
The results of the study showed that the majority of the respondents were female with 26- 30 years old, finished high school / vocational education, were single, worked as Conventional line, had more than 3 years of work with the company, and never had any accidents. According to the safety factors, the employees emphasized on the aspect of education at a high level, however, the aspects of enforcement and engineering were considered at moderate levels. The employees demonstrated the significant level of work safety behavior on the aspect of using tools, machines and equipment at the highest level, but the aspect of administration was considered at a high level, moreover, the employees placed importance on the aspects of operation and working environment at moderate levels. The results of hypothesis test revealed that different gender, age, education level, work position, and work experience caused significant difference in work safety behavior, and safety factors had significant positive relation with work safety behavior as a whole.