Education Administration according to Sufficience Economic Philosophy of School in The Office of Pathumthani Primary Educational Service Area 2
โดย ระพีพรรณ คณาฤทธิ์
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงต่างกัน ต่อการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ต่อการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie and Morgan ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 275 คน และสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการพรรณนาข้อมูล และใช้สถิติ t-test และ One way ANOVA ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.3 ดำรงตำแหน่งผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่มากที่สุดร้อยละ 46.5 สอนอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 61.5 สอนอยู่ในโรงเรียนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ปีขึ้นไป
2. ระดับของการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ทั้งภาพรวม รายด้าน และรายข้ออยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ขนาดของโรงเรียนต่างกันมีการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ พบว่า ทั้งการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดกลาง ระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็ก และระหว่างโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกคู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
4. ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โรงเรียนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่ำกว่า 5 ปี และโรงเรียนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ปี ขึ้นไป มีการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่แตกต่างกัน
The purposes of this research were to 1) study the level of administration in school following the Philosophy of Sufficiency Economy, 2) compare the opinions between administrators and teacher who had the various experiences in Sufficiency Economy and 3) compare the opinions about school administration policy involving Philosophy of Sufficiency Economy from administrators and teacher who has worked in different sizes of school in the Office of Pathumthani Primary Educational Service Area 2.
The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan equation. Two hundred and seventy-five were randomized by using Stratified random Sampling. A tool for data collection was the questionnaire. The Results were analyzed by using computer software and represented by descriptive statistics, t-test and One Way ANOVA.
The Results indicated following as:
1. Almost of sample was instructor (91.3%) and has worked in the medium school. Most of their schools used to has the experience in Philosophy of Sufficiency Economy more than 5 years (61.5%).
2. The level of administration in school with regard to Philosophy of Sufficiency Economy indicated that the overview in each items and field were high.
3. The comparisons of administration policy following Philosophy of Sufficiency Economy in various sizes of school indicated that their sizes significantly affected the administration policy regarding to Philosophy of Sufficiency Economy (p<.05). Moreover, the comparison of those administrations indicated that bilateral comparison in various sizes of school represented significantly different at 0.05 of P value.
4. The comparison results also revealed that the school with more than 5 years of experience in Philosophy of Sufficiency Economy and another school did not show significantly different in administration policy (p<.05).