Relationships Between Parent Education and Knowledge of Parents in Early Childhood Development in School Klongluang District Pathumthani Province
โดย สุภาวิณี ลายบัว
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ปกครองนักเรียนในระดับปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการประชุมผู้ปกครอง ด้านการให้การปรึกษา ด้านห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง ด้านการเยี่ยมบ้าน และความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-สังคม ด้านสติปัญญา และพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 5 ด้าน ของโรงเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่าที่มีค่าสูงสุดคือ การฝึกอบรม และการประชุมผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก 2) ความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน ของผู้ปกครองในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ3) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์กันทางบวกทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were as follow : 1) Study the level of parents education for the early childhood development. 2) Study the level of parents knowledge for the early childhood development. And 3) Study the relationship between parents education and the parents knowledge for the early childhood development of the schools in Klongluang district, Pathumthani Province.
The samples used in this research were parents of children of the schools in Klongluang district, Pathumthani Province. The instruments used in research were question which were related to parents education in five areas: training, meeting the parents. aspects of counseling, the library for parents and house visitting and knowledge of parents in four areas: physical development, emotional and social development, intellectual development, and ethics the development. The data analyzed that the frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson ‘s Correlation Coefficient.
The results were as follows: 1) The parents education for the early childhood development five aspects of early. In School as a whole at medium level. Once considered the issue have found that Max is training and parent meetings at a high level. 2) Knowledge of parents in early childhood development four aspects of parents in School and the whole at a high level. 3) Parent education and knowledge of parents in early childhood and development in School Klongluang District Pathumthani Province was also rated at medium level in all aspects at the significant of .01