Community Needs for Participation in Environmental Management at Rangsit Housing Community
โดย เนตรนภา คุ้มครอง
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของการเคหะชุมชนรังสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้อยู่อาศัยในการเคหะชุมชนรังสิต จำนวน 381 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test, One Way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท และมีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชนช่วง 6-10 ปี ด้านความต้องการของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนแตกต่างกัน เพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนแตกต่างกัน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่าในภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
The objective of the independent study was to investigate the community needs for participation in the environmental management at Rangsit Housing Community. The sample of the study consisted of 381 inhabitants of Rangsit Housing Community. The questionnaire was used as the data collection instrument. The statistics used for data analysis comprised Percentage, Mean, Standard deviation, t-test, One Way ANOVA, Least Significant Difference (LSD), and Pearson’s Correlation Coefficient.
The results of study demonstrated that most respondents were female, between 41-50 years old, married, completed lower secondary education/vocational education, were traders/had private business, earned a monthly income less than 10,000 Baht, and had lived in the community for 6-10 years. The overall aspects of the community needs for participation in the environmental management was shown at a high level, however, the participation in the environmental management was rated at a moderate level.
The result of hypothesis test showed that different gender and level of education caused differences in the needs for participation in the environmental management, different gender, age, and occupation caused differences in participation in the environmental management, the relationship between the community needs for participation in the environmental management and the participation in the environmental management was shown at a low level.
Download : ความต้องการของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของการเคหะชุมชนรังสิต