Development of cereals cracker product
โดย ชมภู่ ยิ้มโต, อภิญญา พุกสุขสกุล และอรวรรณ พึ่งคำ
ปี 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยหาธัญพืชที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเกรียบงา พบว่าข้าวเหนียวขาวเป็น ธัญพืชที่เหมาะสมที่สุด ข้าวเกรียบงาเสริมข้าวเหนียวขาวประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้าร้อยละ 22.79 งา ดำร้อยละ 0.11 น้ำตาลปี๊บร้อยละ 28.21 เกลือร้อยละ 0.38 น้ำร้อยละ 48.29 มะพร้าวหั่นซอยร้อยละ 0.22 และข้าวเหนียวขาวนึ่งร้อยละ 0.22 ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาเสริมข้าวเหนียวขาวแห้งมีคุณภาพ ทางกายภาพ ดังนี้ ค่า a[subscript w] = 0.63 ค่าสี L* a* b* เท่ากับ 69.57, 0.30 และ14.70 สำหรับข้าวเกรียบงา เสริมข้าวเหนียวขาวปิ้ง มีค่า a[subscript w] 0.45 ค่าสี L* a* b* เท่ากับ 32.93,14.57 และ16.10 จากการประเมิน ความชอบของผู้บริโภคในคุณลักษณะด้านลักษณะปรากฏ สี การกระจายตัวของธัญพืช กลิ่น ลักษณะเนื้อสัมผัสในด้านความกรอบ รสหวาน ความมัน รสชาติรวม และความชอบรวม พบว่า ผู้บริโภคให้ค่าคะแนนความชอบในระดับชอบปานกลาง ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หากมี วางจำหน่าย เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ คุณค่าทางโภชนาการ และอร่อย
Download : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบธัญพืช