Micropropagation of nymphaea hybrid ‘chalong kwan’

โดย เยาวมาลย์ น้อยใหม่

ปี 2555

บทคัดย่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวลูกผสมพันธุ์ฉลองขวัญ ได้ดำเนินการที่คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ช่วงระหว่างปี 2553-2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของชิ้นส่วน วิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสม และปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวฉลองขวัญในสภาพปลอดเชื้อ ตลอดจนการศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในสภาพธรรมชาติโดยใช้หัวย่อย ยอดอ่อน และใบอ่อน ในการฟอกฆ่าเชื้อ การฟอกฆ่าเชื้อหัวย่อยด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 20 นาที ตามด้วยเมอคิวริกคลอไรด์ 0.1 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 นาที พบว่าหัวย่อยมีการปลอดเชื้อและการรอดชีวิตสูงสุดเท่ากับร้อยละ 85.0 และ 68.3 ตามลำดับ

จากการศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่าสามารถชักน าการเกิดยอดสูงสุด จำนวน 8 ยอดต่อหัวย่อย เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BAP10 ไมโครโมลาร์ และให้จำนวนใบสูงสุด 25.7 ใบต่อหัวย่อย บนอาหารที่เติม BAP 5 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับ IAA 10 ไมโครโมลาร์ การชักนำการเกิดยอดจากยอดอ่อนได้ดีที่สุด 4.1 ยอดต่อชิ้น บนอาหารที่เติม BAP 5 ไมโครโมลาร์และให้จำนวนใบเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 12.7 ใบต่อชิ้น บนอาหารที่เติม BAP 10 ไมโครโมลาร์ การชักนำราก จากยอดที่มีหัวย่อยให้ราก จำนวน 15.2 รากต่อยอด บนอาหารสูตรที่เติม NAA 10 ไมโครโมลาร์และการใช้ BAP ร่วมกับ IAA, zeatin ร่วมกับ NAA และ kinetin ไม่สามารถชักนำการเกิดดอกในขวดเพาะได้ในทุกสูตรอาหาร หลังการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 6 สัปดาห์การย้ายต้นอ่อนออกปลูกในสภาพธรรมชาติ พบการรอดชีวิตเท่ากับร้อยละ 86.9 และมีหัวใหม่เกิดขึ้นจำนวนเฉลี่ย 1.3 หัวต่อต้น และวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของดินเหนียวและมูลวัวในอัตราส่วน 7:1 ให้จำนวนใบและดอกมากกว่าวัสดุปลูกที่มีเฉพาะดินเหนียว

Download : Micropropagation of nymphaea hybrid ‘chalong kwan’