Comparison between the expectations and the use of medical services, royal Thai air force

โดย ชัชวัชร น้อยนะวะกุล

ปี 2555

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการใช้งานจริงของบุคลากรที่ใช้งานระบบอีแอดมิน ในกรมแพทย์ทหารอากาศ โดยศึกษาการใช้งานทั้งหมด 5 ด้านได้แก่ ด้านความสามารถในการเรียนรู้ ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน ด้านความสามารถในการจดจำด้านข้อผิดพลาดจากการใช้งาน และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรในกรมแพทย์ทหารอากาศทั้งหมด 10 หน่วยงานจำนวน 110 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การทดสอบ Independent Samples t – test กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ใช้การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้วิธี Paired – Samples t – test

ผลการศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนายทหารชั้นประทวน เพศหญิง มีอายุ 18-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สังกัดแผนกการเงินและโรงพยาบาลจันทรุเบกษา และผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและการใช้งานของบุคลากรที่ใช้งานระบบอีแอดมิน พบว่า ความคาดหวังต่อการใช้งานระบบอีแอดมินที่แตกต่างกัน มีผลต่อการใช้งานระบบอีแอดมินด้านความสามารถในการเรียนรู้ ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน ด้านความสามารถในการจดจำด้านข้อผิดพลาดจากการใช้งาน และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานแตกต่างกัน

Download : Comparison between the expectations and the use of medical services, royal Thai air force