The survey of people understands for the computer privacy policy : case study Bangkok

โดย นวรัตน์ พัฒโนทัย

ปี 2555

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลการค้นคว้าการวิจัยที่ได้ไปเป็นข้อมูลให้แก่ นักวิจัยที่ต้องการศึกษาต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจจำนวน 420 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้การทดสอบสมมติฐานความแตกต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรทั้ง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples t-test) และทดสอบสมมติฐานความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป (One-way ANOVA) ถ้าพบ ความแตกต่างก็จะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้อยู่ในระดับความรู้มากที่สุด (เกรด A) ร้อยละ 3.3 เท่านั้นและไม่มี ความรู้ ความเข้าใจ (เกรด F) ร้อยละ 31.4 ในเรื่องความรู้ความเข้าใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคล สรุปได้ว่า ประชาชนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีระดับความรู้อยู่ในเกณฑ์มีความรู้ร้อยละ 68.6

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์การทำงาน มีผลต่อความรู้ ความเข้าใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลทางระบบคอมพิวเตอร์แตกต่างกัน ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ ซึ่งไม่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลทางระบบคอมพิวเตอร์

Download : The survey of people understands for the computer privacy policy : case study Bangkok