Use Of Carl Orff-Based Extra-Curricular Activities To Develop Music And Drama Skills Of Primary School
โดย พิมพ์ชนก ค้ำชู
ปี 2555
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ เพื่อพัฒนาทักษะในรายวิชาดนตรี–นาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรี–นาฏศิลป์ของนักเรียนระหว่างกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ กับกิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่เป็นสมาชิกชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนรัตนโกสินทร์ ๙ และโรงเรียนเคหะบางพลี (10 ปี สปช.) ซึ่งเป็นนักเรียนที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ทั้งหมด 60 คน จัดเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ ANCOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมหลักสูตรรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สูตร E[subscript1]/ E[subscript2] พบว่า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 78.04/85.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้ทางนาฏศิลป์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) คะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were 1) to use extra curricular activities based on Carl Orff’s theory to develop music and drama skills of primary students, and 2) to compare the achievement of student’s music and drama skills taught by the application of Carl Orff to extra curricular activities and the controlled group.
The samples were 60 students rat Rattanakosin 9 School and Khaha Bang Plee (Sip-Pee-Sor-Por-Chor School) who were in the dancing club. All students were studying in the second semester of the Academic year 2012. These students were selected via random sampling. These students were divided into two groups of 30, the experimental and the control groups. The instrument used were 1) music and drama activities 2) the music and drama test, 3) Music and drama exercises. The data were analysed by using Means, Standard Diviation and ANCOVA.
The results were as follows: 1) the achievement test result of the experimental group was significantly higher than that of the controlled group, 2) students’ scores of music and drama skills taught through the application of the Carl Orff theory were significantly higher than those from the control group at 0.05.