Analysis and Design of Blood Transportation in Bangkok Metropolitan Region A Case Study for the National Blood Center, Thai Red Cross Society
โดย สมชาย ปฐมศิริ, ประภัสสร สุขาบูรณ์
ปี 2555
บทคัดย่อ(Abstract)
ในแต่ละวัน มีความต้องการใช้โลหิตจำนวนมากสำหรับการรักษาชีวิตมนุษย์ การได้รับโลหิตอย่างรวดเร็วและปลอดภัย จะช่วยให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการกระจายโลหิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึง สำหรับในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น โรงพยาบาลแต่ละแห่งที่ต้องการใช้โลหิตจะต้องส่งรถไปรับโลหิตเองโดยตรงที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละวันจะมีโรงพยาบาล 74 แห่งส่งรถนานาชนิดมารับโลหิตจากศูนย์ฯวันละหลายเที่ยว แต่ละเที่ยวได้รับโลหิตไประหว่าง 1 ถึง 300 ถึง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อันเนื่องมาจากเป็นการวิ่งไปแล้ววิ่งกลับทันที รถแต่ละคับบรรทุกโลหิตได้น้อยมากเมื่อเทียบกับความจุของรถงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ปัญหาเป็นการจัดระบบเส้นทางทางการขนส่ง ประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกของ Clark and Wright ในการแก้ปัญหา ผลการทดสอบด้วยข้อมูลจริงพบว่าระบบที่เสนอสามารถช่วยให้การขนส่งโลหิตในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลลดจำนวนเที่ยวและระยะทางการขนส่งได้ มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งให้สูงขึ้น 68.53% ซึ่งทำให้ต้นทุนการกระจายโลหิตลดต่ำลง นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางเพื่อการลงทุนที่เหมาะสมอีกด้วย
Everyday, the demand for blood is enormous in order to save lives. Quick and safe blood service is crucial for the efficiency of medical treatment. However, distribution cost of blood should be of important as well. In Bangkok Metropolitan Region, the individual hospital needs to send its vehicle to pick up the requested blood at the National Blood Center (NBC), Thai Red Cross Society. On average, there are approximately 74 hospitals sent various kinds of vehicles to wait and pick up blood between I – 300 units from the NBC. With the current individual pick-up system, the transportation cost is excessive due to too many empty trips. This research paper presents the results from the study and analysis of the current blood transportation system. The new design is proposed based on the management science and business logistics concept. The problem is modeled as the vehicle routing problem (VRP) and solved by the Clarke and Wright’s heuristic method. By testing with the real data, the results show that a lot of trips and total distance can be saved. Potentially, the transport efficiency could be increased by 68.53%. The paper also discusses about the business model for implementing such concept at the NBC.