The Analysis of Heat Pump Performance Using R-410A for Drying
โดย ณัทกร ทุริสุทธิ์, เทิดเกียรติ ลิมปิทีปราการ, สถาพร พองวิค และ ฉัตรชัย นิมมล
ปี 2555
บทคัดย่อ(Abstract)
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบปั๊มความร้อนในเครื่องอบแห้งโดยใช้ข้าวเปลือกเป็นวัสดุอบแห้งทำการวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อนของการทดลองจริงกับการจำลองแบบทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งการวิเคราะห์หาข้อมูลและข้อบกพร่องในระบบปั๊มความร้อน จุดประสงค์เพื่อเลือกใช้สารทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวแปรของการศึกษาเปรียบเทียบดังนี้คือ ค่าประสิทธิ์สมรรถนะของปั๊มความร้อน (COP[subscript h]) และอัตราการอบแห้ง (DR) ในเครื่องอบแห้ง ซึ่งแบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกศึกษาด้วยการทดลองจริงจากห้องอบแห้งขนาด 8 m[superscript 3] เปรียบเทียบกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้สารทำความเย็น R-22 ผลการเปรียบเทียบค่า (COP[subscript h]) พบว่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 3.6% แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้สามารถนำไปใช้ทำนายค่า(COP[subscript h]) ในการทดลองได้ จึงได้นำแบบจำลองนี้ไปใช้ในขั้นตอนที่สอง คือศึกษาเปรียบเทียบเครื่องอบแห้งปั๊มความร้อนระหว่างใช้สารทำความเย็น R-410A และ R-22 โดยมีเงื่อนไขใช้ระบบปั้มความร้อนที่มีขนาดเท่ากันพบว่าค่า(COP[subscript h]) ของR-410A สูงกว่า R$-22 ประมาณ 62% และค่า DR โดยเฉลี่ยน้อยกว่าประมาณ 5.5% ดังนั้น R-410A จึงมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในเครื่องแห้งปั๊มความร้อนทดแทน R-22 ในอนาคต
This research was conducted to study a performance of heat pump dryer system with selected products of a paddy. The comparison between the experimental drying and the mathematical modeling of heat pump dryer was found to have an error value. Data analysis and the system defect were made. The studies aims to selected the refrigerant that can be use in safety and friendly for global warming protection. The compared valuables were the coefficient of performance of heat pump (COP[subscript h]), and drying rate (DR). This study has two part, the first part was made by comparing between the 8 m3 heat pump dryer and the mathematical modeling with R-22. The study was found to have error of (COP[subscript h]) as 3.6 %. Therefore can be used this modeling simulate to the (COP[subscript h]) in the second part, this modeling used to compare between R-4I0A and R-22 with equivalent heat pump capacity. It was found that the (COP[subscript h]) of R-410A was higher than R-22 about 62 % but the average DR of R-410A lower than R-22 about 5.5 %. Therefore, the R-410A is suitable to replace the R-22 for a heat pump dryer in the future.
Download : The Analysis of Heat Pump Performance Using R-410A for Drying