Pulp production from rice straw by biological method combined with soda process
โดย พินิจกานต์ อารีวงศ์, วรรณิษา นาคแกมทอง
ปี 2555
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดาและการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยกรรมวิธีโซดาทั้ง 2 วิธีใช้ระยะเวลาในการหมัก 20 30 และ 40 วัน พบว่าฟางข้าวที่เพาะเลี้ยงด้วย T.viride ที่ผสมข้าวฟ่าง มีค่า Kappa number เหลือน้อยกว่าฟางข้าวที่เพาะเลี้ยงด้วย T.viride ที่ไม่ผสมข้าวฟ่าง ในทุกระยะเวลาของการหมัก เมื่อศึกษาผลของโซเดียมไฮดรอกไซด์ในการต้มเยื่อที่ระดับความเข้มข้น ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ผลการทดลองพบว่าการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดาและการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยกรรมวิธีโซดาปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า Kappa number และผลผลิตเยื่อที่ได้ลดลง แต่ค่า Kappa number และผลผลิตเยื่อที่ได้ของการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยกรรมวิธีโซดาจะมีค่ามากกว่าการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดา เมื่อทดสอบคุณสมบัติความต้านทานแรงฉีกขาดและความขาวสว่างพบว่าการใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เพิ่มขึ้นเยื่อกระดาษที่ผลิตด้วยวิธีการทั้ง 2 มีความต้านทานแรงฉีกขาดน้อยลง แต่ความขาวสว่างเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติความต้านทานแรงฉีกขาดและความขาวสว่างของกระดาษที่ผลิตด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดา และกระดาษที่ผลิตด้วยวิธีทางโซดา พบว่ากระดาษที่ผลิตด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดามีความต้านทานแรงฉีกขาดมากกว่าแต่ความขาวสว่างน้อยกว่ากระดาษที่ผลิตด้วยกรรมวิธีทางโซดาในทุกระดับความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์
Download : Pulp production from rice straw by biological method combined with soda process