Development of a cassava stem cutting machine
โดย จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, สุทิน เหล่าโก่ง, ภูวนาท สินสวัสดิ์ และชัยยงค์ ศรีประเสริฐ
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี; ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2551
บทคัดย่อ
เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังถูกสร้างขึ้น เพื่อลดเวลาในขั้นตอนการเตรียมท่อนพันธุ์สำหรับนำไปปลูกและลดปัญญาหาการขาดแคลนแรงงาน เครื่องต้นแบบประกอบด้วย ชุดใบเลื่อยวงเดือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นิ้ว 60 ฟัน ชุดโซ่ลำเลียงต้นพันธุ์ ชุดกดท่อนพันธุ์ ระบบส่งกำลัง ชุดเกียร์ทด (60:1)และใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง หลักการทำงานของเครื่อง เริ่มจากผู้ทำงานป้อนต้นมันสำปะหลังลงบนชุดโซ่ลำเลียง ต่อจากนั้นต้นมันจะถูกลำเลียงเข้าไปตัดที่ชุดใบเลื่อยวงเดือนผ่านชุดดกท่อนพันธุ์ และท่อนพันธุ์ที่ถูกตัดจะร่วงลงสู่ช่องทางออกทางด้านหลังของตัวเครื่อง ซึ่งความยาวของท่อนพันธุ์สามารถปรับได้ 2 ขนาด คือ 20 และ 25 เซนติเมตร โดยการปรับตั้งตำแหน่งของใบเลื่อยวงเดือน จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องตัดท่อนพันธุ์สามารถทำงานได้ดีที่ความเร็วรอบของชุดโซ่ลำเลียง 8 เมตร ต่อวินาที โดยเครื่องสามารถตัดท่อนพันธุ์ที่ความยาว 20 เซนติเมตร ได้ 4,424 ท่อนต่อชั่วโมง ความเสียหาย 8.5% และที่ความยาว 25 เซนติเมตร ตัดได้ 3,321 ท่อนต่อชั่วโมง ความเสียหาย 4.8% การตัดทั้งสองความยาวใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 0.5 – 0.9 กิโลวัตต์ ชั่วโมง จากากรวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่าเมื่อใช้เครื่องตัดท่อนพันธุ์ 2,400 ชั่วโมงต่อปี จะมีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี และจุดคุ้มทุน 272 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับการตัดด้วยแรงงานคน