Chracterization of an Anaerobic Baffled- Fixed Film Reactor (ABFFR) in Treating and Producing Biogas From Palm oil mill Effluent
โดย วาศนศักดิ์ ลิ้มควรสุวรรณ, ชินพงศ์ วังใน และภาวิณี ชัยประเสริฐ
ปี 2553
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2553), หน้า 49-59
บทคัดย่อ
ถังปฏิกรณ์แผ่นกั้นไร้อากาศลูกผสม (Anaerobic baffled and fixed film reactor, ABFFR) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารแขวนลอยในน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยถังปฏิกรณ์ถูกพัฒนามาจากระบบแผ่นกั้นร่วมกับระบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ห้อง โดยห้องสุดท้ายใส่ตาข่ายพลาสติกเป็นตัวกลาง ถังปฏิกรณ์ ABFFR ถูกป้อนด้วยน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมีความเข้มข้นซีโอดีอยู่ที่ 65,120 [plusmn] 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตรและความเข้มข้นของสารแขวนลอยอยู่ที่ 21,000 [plusmn] 550 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีอัตราการป้อนอยู่ที่ 1.2 ลิตรต่อวัน จากการเดินถังปฏิกรณ์แผ่นกั้นไร้อากาศลูกผสมพบว่าประสิทธิภาพรวมของการบำบัดซีโอดีและสารแขวนลอยมากกว่าร้อยละ 90 และ 80 ตามลำดับ และสามารถผลิตก๊าซมีเทนได้ 6.9 ลิตรต่อวัน เมื่อพิจารณาห้องหมักแผ่นกั้นสามห้องแรกของถังปฏิกรณ์เกิดการไฮโดรไลซิสสารแขวนลอยและเกิดการผลิตกรดขึ้น โดยพบว่าในแต่ละห้องของถังปฏิกรณ์นั้นสามารถย่อยเซลลูโลสได้ร้อยละ 68, 22 และ 9.8 ของเซลลูโลสที่ถูกย่อยสลายทั้งหมด ตามลำดับ โดยห้องแรกสามารถไอโดรไลซิส เซลลโลสได้ดีที่สุด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างในสามห้องแรกนั้นอยู่ในช่วง 4.5 – 5.0 โดยพบกรดไขมันระเหยปริมาณมากในสามห้องแรกที่ 8-9 กรัมต่อลิตร ชนิดของกรดที่พบคืออะซิเตท บิวทเรท และโพรพิกโอเนท ห้องสุดท้ายของถังปฏิกรณ์เกิดการผลิตก๊าซมีเทนและปริมาณการสะสมกรดไขมันระเหยได้ต่ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 7.7 นอกจากนั้น พบผลผลิตก๊าซชีวภาพและมีเทนในปริมาณสูงคือ 0.37 – 0.52 และ 0.26 – 0.37 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัมซีโอดีละลายน้ำที่ถูกกำจัดตามลำดับ