The development of women bag from damin remnant fabric of cutting in thai garment Industrial
โดย เสาวลักษณ์ เนตรมณี, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม, สุภา จุฬคุปต์ และ รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์
ปี 2556
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ทดสอบสมบัติของเศษผ้าเดนิมที่เหลือจากการตัด และพัฒนากระเป๋าสตรีจากเศษผ้าเตนิม วิธีการวิจัย คือ วิเคราะห์ลักษณะของเศษผ้าเดนิมที่เหลือจากการตัดของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม แล้วนำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพประเมินค่าการติดเปื้อนสี ออกแบบและตัดเย็บกระเป๋า 6 ประเภท คือ กระเป๋าถือทรงกลม กระเป๋าถือทรงเหลี่ยม กระเป๋าสะพายข้างทรงกลม กระเป๋าสะพายข้างทรงเหลี่ยม กระเป๋าเงินทรงกลม กระเป๋าเงินทรงเหลี่ยม ผลการวิจัยพบว่า เศษผ้าเดนิมที่เหลือจากการตัดมีขนาดตั้งแต่ 1 – 7 นิ้ว และขนาด 1 นิ้วมีมากที่สุด สมบัติทางกายภาพของความคงทนต่อการขัดถูในสภาวะแห้ง และการติดเปื้อนสีบนผ้าขาวระดับดี และการทดสอบความแข็งแรงของตะเข็บ พบว่า ฝีเข็มที่เหมาะสมอยู่ที่ 14 ฝีเข็มต่อ 1 นิ้ว กระเป๋าทั้ง 6 แบบ มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย คือ 3.5 และได้รับความนิยมไม่มีความแตกต่ากันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05