By พิจิตร นามคันที และ ดามร บัณฑุรัตน์

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.374-381

 

Abstract

เชื้อเพลิงในการบ่มใบยาเป็นปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการผลิตใบยาประเภทบ่มไอร้อน เนื่องจากฟืนที่เป็นเชื้อเพลิงหลักเริ่มขาดแคลน มีราคาแพงขึ้น และเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ประกอบกับนโยบายโรงงานยาสูบที่มุ่งเน้นการผลิตใบยาสูบควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติที่ยั่งยืน ตามแนวทาง GAP (Good Agricultural Practices) งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแหล่งให้ความร้อน โรงบ่มใบยาสูบแบบบัลค์จากเดิมที่ใช้ฟืนเผาในห้องเผาไหม้ให้ได้ไอร้อน ผ่านไปยังท่อแลกเปลี่ยนความร้อน พัฒนามาเป็นหม้อต้มน้ำร้อนที่ใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นเชื้อเพลิง และในส่วนของห้องบ่มดัดแปลงเป็น 3 ห้อง แต่ละห้องมีขนาด 1.5×5.3×4 ม. ห้องติดตั้งอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน และพัดลมบังคับทิศทางการไหลของอากาศ แยกอิสระจากกัน ทดลองบ่มใบยาแบบใช้ความร้อนรวมศูนย์ บรรจุใบยาห้องบ่มละประมาณ 2,000 กก. ให้เวลาเริ่มบ่มใบยาแต่ละห้องห่างกัน 1 วัน พบว่าโรงบ่มความร้อนรวมศูนย์ขนาดเล็ก สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้ตามขั้นตอนการบ่มใบยา และมีความสะดวกประหยัดแรงงานการบ่มใบยา คุณภาพของใบยาแห้งได้ใบยาในกลุ่มสี L, F และกลุ่มสี V, K, S, G ร้อยละ 72 และ 28 ตามลำดับ อัตราการใช้ก๊าซ (LPG) เฉลี่ย 0.05 กิโลกรัมต่อกิโลกรัมใบยาสด อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 0.06 หน่วยต่อกิโลกรัมใบยาสด ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 3,487.17 kJ/kg water evap ต้นทุนค่าพลังงานเฉลี่ย 9.49 บาทต่อกิโลกรัมใบยาแห้ง การดัดแปลงแหล่งให้ความร้อนของโรงบ่มใบยาแบบบัลค์เป็นโรงบ่มความร้อนรวมศูนย์ขนาดเล็ก เป็นการแก้ไขปัญหาด้านเชื้อเพลิงบ่มใบยา ในด้านแหล่งสำรองเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน ลดมลพิษจากการเผาไหม้ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และเป็นโรงบ่มที่มีลักษณะตามแนวทางการผลิตใบยา GAP ของโรงงานยาสูบสำหรับโรงบ่มแบบบัลค์เดิมมีต้นทุนค่าพลังงานเฉลี่ย 2.13 บาท/กก. ใบยาแห้งโดยใช้ฟืนร่วมกับลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง (ปี 2551)

Download: การดัดแปลงแหล่งให้ความร้อนของโรงบ่มใบยาสูบแบบบัลค์มาเป็นโรงบ่มความร้อนรวมศูนย์ขนาดเล็ก