By นาฏชนก ปรางปรุ, วิเชียร ดวงสีเสน, เทวรัตน์ ตรีอำนรรค และ เกียรติศักดิ์ ใจโต
Year 2013
The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.382-386
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการทำแห้งกากมันสำปะหลังด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบด้วยความหนาของกองกากมันสำปะหลัง 2 cm, 4 cm และ 6 cm. การพลิกกลับกองและไม่พลิกกลับกองของกากมันสำปะหลัง โดยทำแห้งกากมันสำปะหลังที่มีความชื้นเริ่มต้นเฉลี่ย 81.10%wb พลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 596.53 W/m2 อุณหภูมิเฉลี่ย 37.43 degree Celsius ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 47.99% และใช้ระยะเวลาในการทำแห้งทั้งหมด 14 วัน ผลจากการทดสอบพบว่า ทั้งความหนาและการพลิกกลับกองมีผลต่อความชื้นสุดท้ายของกากมันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) โดยการทำแห้งที่ความหนา 2 cm สามารถลดความชื้นของกากมันสำปะหลังลงเหลือความชื้นสุดท้ายเฉลี่ย 9.21%wb และไม่มีเชื้อราเกิดขึ้น ส่วนการทำแห้งที่ความหนา 6 cm ทำให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีความชื้นสูงเกินกว่าการจัดเก็บให้ปลอดภัยและมีเชื้อราเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านการพลิกกลับกอง พบว่าที่ความหนาเดียวกันความชื้นสุดท้ายของกากมันสำปะหลังมีค่าลดลงเมื่อมีการพลิกกลับกองซึ่งผลจากการประเมินความสามารถในการทำแห้ง พบว่าการทำแห้งที่ความหนา 2 cm และไม่มีการพลิกกลับกองเป็นสภาวะที่มีความสามารถในการทำแห้งสูงสุด
Download: การทำแห้งกากมันสำปะหลังด้วยพลังงานแสงอาทิตย์