By นิธิ ด้วงผึ้ง และ สมชาย ชวนอุดม
Year 2013
The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.369-373
Abstract
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคน และลดเวลาในการปลิดฝักถั่วลิสง ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบให้มีโครงสร้าง และกลไกการทำงานที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1/4 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ส่งกำลังด้วยสายพานผ่านชุดเกียร์ทดขนาด 1:30 หัวปลิดทำด้วยเหล็กเส้นขนาด 3/8 นิ้วม้วนขึ้นรูปเป็นเกลียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 140 ม.ม ยาว 500 ม.ม ยึดติดบนเพลาเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พร้อมชุดลูกปืนรองรับหัวเพลาติดตั้งบนโครงเหล็กฉาก ด้านล่างของหัวปลิดมีตะแกรงรูสล็อตม้วนขึ้นรูปเป็นครึ่งวงกลมเพื่อรองรับฝักถั่วที่ปลิดแล้วและจะถูกพาออกไปช่องทางออกด้วยเส้นเกลียวของหัวปลิด ดินจะร่วงผ่านรูตะแกรงลงข้างล่าง ดำเนินการทดสอบการปลิดฝักถั่วลิสง 3 พันธุ์คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ขอนแก่น 5 และพันธุ์ไทนาน 9 ทำการทดสอบการปลิดที่ความเร็วรอบหัวปลิด 120 รอบ/นาที พบว่ามีความสามารถในการปลิดฝักพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ขอนแก่น 5 ได้ 30 กก./ชม. และไทนาน 9 25 กก./ชม. มีเปอร์เซ็นต์ขั้วติดประมาณ 5% และ 16% ตามลำดับ และพบว่าการทดสอบปลิดถั่วลิสงทั้ง 3 พันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์ฝักแตกไม่เกิน 1.5% ทั้งนี้เนื่องจากถั่วลิสงพันธุ์พื้นเมือง และถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 5 เป็นถั่วที่มีฝักขนาดใหญ่และขั้วเปราะกว่าจึงทำให้ความสามารถในการปลิดสูง และเปอร์เซ็นต์ขั้วติดต่ำ ส่วนถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 มีลักษณะฝักเล็ก และขั้วเหนียว จึงทำให้มีความสามารถในการปลิดต่ำกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ขั้วติดสูงกว่า มีต้นทุนการปลิดกิโลกรัมละ 1.80 บาท จุดคุ้มทุน 120 ชั่วโมง/ปี
Download: วิจัยและพัฒนาเครื่องปลิดฝักถั่วลิสงในระดับเกษตรกร