By ภัทรพันธ์ ทองยศ, สมิทธ์ เอี่ยมสอาด, สมพล สกุลหลง, สุริยา โชคเพิ่มพูน, วิทูรย์ ชิงถ้วยทอง, พงษ์เจต พรหมวงศ์ และ ณัติวิภา เจียระไนวชิระ
Year 2013
The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.597-603
Abstract
วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ทะลายปาล์ม กากอ้อย ซังข้าวโพด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงหรือที่รู้จักกันในนามเชื้อเพลิงชีวมวล โดยเชื้อเพลิงชีวมวลนับว่าเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากจะสามารถให้พลังงานออกมาแล้วยังเป็นการกำจัดวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ด้วย หนึ่งในกระบวนการการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานที่อยู่ในชีวมวลให้เป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมและนับว่ามีความสะดวกในการดำเนินการ คือ กระบวนการการเผาไหม้ด้วยเตาเผาชนิดต่างๆ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงเปรียบเทียบพฤติกรรมการเผาไหม้ภายในเตาเผาฟลูอิไดซ์เบดที่มีการพัฒนาในส่วนของห้องเผาไหม้โดยการอาศัยการสร้างอากาศหมุนวนด้วยกาติดครีบรูปตัววีคว่ำ 30 degree, 45 degree และ 60 degree ซึ่งจะศึกษาถึงลักษณะการกระจายตัวของอุณหภูมิ องค์ประกอบแก๊สไอเสีย ผลการศึกษาพบว่าการติดตั้งครีบสามารถเพิ่มระดับอุณหภูมิการเผาไหม้ได้ดีกว่ากรณีเตาเผาที่ไม่มีการติดครีบ โดยการติดครีบครีบรูปตัววีคว่ำ 45 degree ให้ค่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุดที่ประมาณ 710 องศาเซลเซียส ปริมาณแก๊สไอเสียในส่วนของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) มีค่าอยู่ระหว่าง 221-263 ppm และกลุ่มออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มีค่าอยู่ระหว่าง 122-157 ppm ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดสำหรับการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล จากผลการศึกษาจะเห็นว่าการนำหลักการการสร้างอากาศหมุนวนมาช่วยพัฒนาห้องเผาไหม้ของเตาเผาฟลูอิไดซ์เบดได้ ดังนั้นหากนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้จริงจะช่วยให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแปรเปลี่ยนพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Download: อิทธิพลของมุมปะทะของครีบวางขวางต่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลภายในเตาเผาฟลูอิไดซ์เบด