By ศสิมา ตรีแก้ว, อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล และ วิชา หมั่นทำการ

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.691-697

 

Abstract

ขิงอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตขิงดองส่งออก การคัดแยกขิงอายุปานกลางที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงขิงอ่อน เป็นกระบวนการสำคัญในการผลิต งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติทางกลและกายภาพที่เหมาะสมที่สามารถนำมาจำแนกขิงอ่อนและขิงอายุปานกลาง โดยนำขิงพันธุ์หยวกอายุอ่อน (4-6 เดือน) และปานกลาง (7-9 เดือน) มาวัดค่าและวิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างแรงกดและระยะยุบตัว ความชื้นและความถ่วงจำเพาะ จากการศึกษาพบว่า ขิงอายุ 4-6 เดือน มีค่าสมบัติทางกลและความถ่วงจำเพาะแตกต่างจากขิงอายุ 7-9 เดือนอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่น 95%) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแง่งขิงภายในเหง้าที่อายุเดียวกัน พบว่า สำหรับขิงอายุ 4-6 เดือน ค่าสมบัติทางกลและกายภาพไม่มีความแตกต่างระหว่างแง่งลูกที่ 1 และที่ 2 อย่างไรก็ตามสำหรับขิงอายุ 7-9 เดือนมีความแตกต่างระหว่างแง่งลูกที่ 1, 2, 3 และ 4 ในค่าสมบัติทางกล แต่ค่าความชื้นและความถ่วงจำเพาะไม่แตกต่างกัน เมื่อนำขิงที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันทั้งสองอายุมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และวิเคราะห์ทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบขิงที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันที่มีอายุต่างกันพบว่า ขิงที่มีอายุต่างกันจะมีสมบัติทางกลที่แตกต่างกันถึงแม้ว่าจะมีสีและลักษณะภายนอกเหมือนกันก็ตามทั้งในกลุ่มสีอ่อนและสีเข้ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสมบัติทางกลเป็นสมบัติที่เหมาะสมในการใช้ตรวจสอบความแตกต่างทางสรีรวิทยาของขิงในด้านอายุและความแตกต่างภายในเหง้า

 

Download: การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพในการตรวจสอบความแตกต่างทางสรีรวิทยาของขิง