Relationship among perceived organizational climate, job stress, and quality of work life of professional nurses : a case study of public hospitals in Pathumthani
โดย โฉมฤทัย ทองนุช
ปี 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศองค์การ ความเครียดในการปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดปทุมธานี 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ทางานในโรงพยาบาลในเขตจังหวัดปทุมธานี จานวน 311 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดปทุมธานี มีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวม และมีคุณภาพชีวิตในการทางานโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีความเครียดในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ สถานภาพ แผนก และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมและรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตในการทางาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4)ความเครียดในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพด้านสัมพันธภาพ และด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์การ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตในการทางานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purposes of this study were 1) to study the levels of perceived organizational climate, job stress, and the quality of work life of professional nurses in the public hospitals in Pathum Thani, 2) to explore demographic factors influencing their quality of work life, 3) to evaluate the relationship between perceived organizational climate and the quality of work life, and 4) to determine the relationship between job stress and the quality of work life. The samples consisted of 311 professional nurses who worked in the public hospitals in Pathum Thani. The questionnaire was used an instrument for data collection while statistical software was used for data analysis. Statistics used were Percentage, Mean, Standard Deviation, One-way ANOVA, and Pearson Correlation Coefficient.
The results of the study were as follows: 1) professional nurses in the public hospitals in Pathum Thani had the overall levels of perceived organizational climate and the quality of work life at high levels whereas the overall level of job stress was medium; 2) the different demographic factors comprising age, marital status, and working duration differently affected the quality of work life at a significance level of 0.05; 3) perceived organizational climate was positively related to the quality of work life as an overall and in every aspect at a significance level of 0.05; and 4) Job stress was negatively related to the quality of work life as an overall and in the aspects of success and career advancement, relationship at work, and organizational structure and organizational climate at a significance level of 0.05