Relationship between Ethics in Organization and Organizational Commitment of Government Officer at the Ministry of Industry in Bangkok Area

โดย ณัฏฐนันท์ ทรัพย์อินทร์

ปี 2556

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยแล้วนาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพนักงานในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนั้นให้ความสำคัญกับจริยธรรมในองค์กรในภาพรวมในระดับมาก โดยมีคะแนนเท่ากับ 3.56 โดยเฉพาะในด้านแนวคิดที่มุ่งเน้นองค์กรในภาพรวม ซึ่งมีคะแนนสูงที่สุด คือ 3.70 ซึ่งสอดคล้องกับความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมด้วยเช่นกัน ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 3.52 โดยเฉพาะในด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามเพื่อประโยชน์ขององค์กรในภาพรวม ซึ่งมีคะแนนสูงที่สุด คือ 3.66

ส่วนผลการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร ประเภทในการบรรจุงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความผูกพันองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% นอกจากนั้นจริยธรรมในองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมากและมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ระดับความเชื่อมั่น 99% โดยเฉพาะจริยธรรมในองค์กรด้านแนวคิดหลักความยุติธรรมกับความผูกพันต่อองค์กรในด้านความเชื่อมั่นต่อเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร

This study aims to examine the correlation between the ethics in organization and the organizational commitment of Department of Industrial Promotion’s officers at the Ministry of Industry in Bangkok area by using questionnaire for data collection and statistical analysis.

The results of descriptive statistics show that the officer’s perspective of ethics in organization is at good level. In particular, the perspective which is focused on organization has the highest mean score of 3.70, followed by the organizational commitment perspective with the mean score of 3.52. Further, the perspective which is focused on the willingness to work for corporate benefits has the mean score as high as 3.66.

The results of inferential statistics show that the demographic factors which include gender, marital status, educational background, work experience, and work position, influence the officer’s organizational commitment at the statistically significant level of 0.05. Moreover, the officer’s perspective on the organizational ethics and the officer’s organizational commitment are highly correlated at the statistically significant level of 0.01. In particular, the organizational ethics in regard to the justice has the highest correlation to the organizational commitment in regard to the confidence and the corporate values.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในกระทรวงอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานคร