Efficiency of Encyclopedia System: Case Study of Chulabhorn Research Institute
โดย ชนกนาถ วิชิตแย้ม
ปี 2556
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ใช้งานและเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานระบบที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารานุกรมออนไลน์ CRI wiki ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปที่ใช้งานระบบสารานุกรมออนไลน์ CRI wiki โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จำนวน 86 คน ประชาชนทั่วไปจำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA, และถ้าพบความแตกต่าง จะทดสอบความต่างเป็นรายคู่ ใช้วิธี Least Significant Difference ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ตำแหน่งงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และผู้ใช้งานระบบส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป ประเภทข้อมูลที่ค้นหาบ่อยที่สุด คือ โครงการต่าง ๆ ของสถาบัน ช่วงเวลาในการใช้งาน 08:00 น. – 12:00 น. ระยะเวลาในการใช้งาน 1 – 2 ชั่วโมง ความถี่ในการใช้งานคือ ทุกวัน ที่ใช้งานระบบสารานุกรมออนไลน์ ในการสืบค้นและค้นคว้าข้อมูล ต่าง ๆ ของสถาบัน
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า วุฒิการศึกษาและส่วนงาน มีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพการใช้ระบบสารานุกรมออนไลน์ ในด้านความครบถ้วนของข้อมูลสืบค้น และประเภทข้อมูลที่ค้นหาบ่อยที่สุด มีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพระบบสารานุกรมออนไลน์ ในด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ และช่วงเวลาในการใช้งานระบบมีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพระบบสารานุกรมออนไลน์ ในด้านความรวดเร็วในการประมวลผล
The independent study purposes were to explore user demographic data and usage behavior that affected the efficiency of the online encyclopedia of Chulabhorn Research Institute (CRI wiki). Sample groups in this study were 86 staffs and 210 people who used CRI wiki. Questionnaires were the research tool used to collect data by quota sampling method. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Least Significant Difference at the statistical significance level of 0.05
The results found that most of the respondents were females, 20-30 years old, Bachelor’s degree of educational level, and work position as general administrative officer. In usage behavior, most of the usage included searching for the institute’s projects, during 08.00-12.00 AM., 1-2 hours of usage time, and used CRI wiki every day.
The hypothesis results found that educational level and work sector affected the efficiency evaluation of CRI wiki usage in the completeness of information found. The type of the most-searched information affected the efficiency evaluation of CRI wiki usage in ease-of-use. Usage time period affected the efficiency evaluation of CRI wiki usage in processing speed.
Download : ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบสารานุกรมออนไลน์: กรณีศึกษา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์