Development of bag product from tied dyeing of banana bark string

โดย วารี กาลศิริศิลป์

ปี 2556

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเชือกกล้วยมัดย้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) สมบัติทางกายภาพของเชือกกล้วย 2) พัฒนาขั้นตอนการมัดย้อมเชือกกล้วย 3) พัฒนา ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย มัดย้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น วัดประเมินค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สารฟอกขาวที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ กระเทียม สารส้ม และคลอรีน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกายภาพของเชือกกล้วยพบว่า เชือกกล้วยมีค่าแรงดึงสูงสุด เท่ากับ 257.7 นิวตัน ร้อยละของการยืดตัวของเชือกกล้วยเท่ากับ 9.65 ผลการศึกษาการฟอกขาวเชือก กล้วย พบว่า การใช้สารคลอรีนผง จะให้ผลการฟอกขาวดีกว่าการใช้สารจากธรรมชาติ ผลการวิจัย ผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋าสะพายของสุภาพสตรี มีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่ากับ 11 33 และ 21 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักของกระเป๋าเท่ากับ 629 กรัม ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่า มีความพึงพอใจในด้านผิวสัมผัส ด้านความสวยงาม ด้านความคงทน ตลอดจนด้านการนำไปใช้อยู่ใน ระดับดีมาก

Download : การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเชือกกล้วยมัดย้อม