The creation of the neo-classical ballet “Hanuman and Supanamatcha Pas De Deux” by Balanchine
โดย วัชรพงษ์ แก้วพลอย
ปี 2557
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2557), หน้า 68-88
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิทยานิพนธ์หัวข้อ “การสร้างสรรค์บัลเล่ต์นีโอคลาสสิค ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา พา เดอ เดอซ์ ตามรูปแบบของบาลองชีน” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงบัลเล่ต์นีโอคลาสสิคที่มีโครงเรื่องจากวรรณคดีไทย และสำรวจความคิดเห็นของนักบัลเล่ต์ ครูสอนบัลเล่ต์ หรือนักศึกษาทางนาฏศิลป์ ที่มีต่อการสร้างสรรค์การแสดงบัลเล่ต์ในรูปแบบนี้ กระบวนการศึกษา ผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้ แนวคิดและ กลวิธีการเต้นในรูปแบบบาลองชีน โดยใช้กรณีศึกษาจาก ผลงานชิ้นเอกของเขา 3 ได้แก่ Rubies (Pas de Deux), Chaconne (Pas de Deux) and Tchaikovsky Pas de Deux มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยสร้างสรรค์
ผลงานสร้างสรรค์ผู้วิจัยได้มีการคงไว้ซึ่งท่าเต้นบัลเล่ต์คลาสสิเคิลแต่ปรับวิธีการนำเสนอลีลาให้ชัดเจน ยิ่งขึ้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวและง่ายต่อการแสดงออกทางอารมณ์ จากนั้นผู้วิจัยได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในด้านรูปแบบการนำเสนอทฤษฎีและกลวิธีการเต้น องค์ประกอบของการแสดง และสุนทรียรส คุณค่าทางศิลปะ ผลจากการสำรวจสรุปได้ว่า บัลเล่ต์นีโอคลาสสิคที่ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ชมให้ความสนใจต่อบัลเล่ต์ที่ในรูปแบบของบาลองชีนซึ่งถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกบัลเล่ต์สมัยใหม่ที่หลีกเลี่ยงวิธีการนำเสนอตามแบบจารีตของบัลเล่ต์คลาสสิเคิลแต่เดิมรวมทั้งมีกลวิธีการสร้างสรรค์ลีลาท่าทางที่เอื้อต่อการสื่อสาร อารมณ์ต่อผู้ชมมากขึ้น หากแต่คงไว้ซึ่งการนำเสนอเรื่องราวทางวรรณคดีไทยที่เป็นที่นิยมและง่ายในการสื่อสาร เรื่องราวกับผู้ชมในประเทศไทยถือได้ว่าการสร้างสรรค์งานแสดงชิ้นนี้เป็นแนวทางใหม่อีกทางหนึ่งในการนำเสนอ งานบัลเล่ต์สู่วงการนาฏศิลป์ของประเทศไทย
The aims of this study on the creation of the neo-classical ballet “Hanuman and Supanamatcha Pas De Deux” by Balanchine Methodology are to create a neo-classical ballet “Hanuman and Supanamatcha Pas De Deux” and to study the opinions of the ballet performers, ballet teachers, and ballet apprentices towards the creation of neo-classical ballet designed by the researcher.
The researcher has exploited such knowledge from analysis and interpretation of 3 neo-classical ballets by Balanchine, Rubies (Pas de Deux) Chaconne (Pas de Deux) and Tchaikovsky Pas de Deux to create the neo-classical ballet “Hanuman and Supanamatcha Pas De Deux” which keep the classical figures still but adjust more clearly variations to the freely moments under the story of thai literature which affect to emotional expression. And introduced the performance onto real stage to collect data on opinions and suggestion of the audience. The analysis of result has become rather successful. The style of performance has followed Balanchine in representing modern ballet without using the traditional ballet style, along with creating the ballet performance which communicates more emotional messages towards the audience. The uniqueness of presenting stories from Thai literature is also given great attention by the researcher. This could lead to the new way of creating ballet performance in the field of dance in Thailand.
Download : การสร้างสรรค์บัลเล่ต์นีโอคลาสสิคชุด “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา พา เดอ เดอซ” ตามรูปแบบของ บาลองชีน