Direction of education management in fashion and textile : Education management concepts for Creative Economy
โดย ใจภักดิ์ บุรพเจตนา
ปี 2557
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2557), หน้า 89-113
บทคัดย่อ
งานด้านแฟชั่นและสิ่งทอ เป็น 1 ใน 15 ของประเภทธุรกิจที่อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทิศทางในการจัดการศึกษาด้านแฟชั่นฯ จึงมีความสำคัญ ที่ควรมีแนวทางการพัฒนาไปในทิศทางที่ชัดเจนเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามแผนพัฒนาฯ ให้มีความแข็งแกร่งบนจุดยืนของประเทศได้ต่อไป จากข้อมูลการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านแฟชั่นและสิ่งทอทั้งในยุโรปและเอเชีย มีข้อสรุปดังนี้ 1) สถาบันการศึกษาเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของแหล่งความรู้ด้านแฟชั่นและสิ่งทอ มีระบบจัดการศึกษาที่พัฒนาการเรียนการสอนด้านแฟชั่นฯที่เข้มแข็ง ต่อเนื่อง เป็นระบบ สามารถตอบโจทย์งานธุรกิจด้านแฟชั่นฯได้อย่างครบวงจร รวมถึงเป็นฐานในการผลิตบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการ 2) การจัดการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมและบริบทของสังคมในประเทศ 3) มีการนำผลการวิจัยมาใช้กับการศึกษาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 4) นโยบายการส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการออกแบบในงานแฟชั่นฯ ของรัฐบาลมีส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพการศึกษา และ 5) มีเครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศเกี่ยวกับงานด้านแฟชั่นฯ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างประเทศ
แนวทางการจัดการศึกษาทางด้านแฟชั่นและสิ่งทอในประเทศไทยควรมีจุดมุ่งหมาย เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในด้านวัฒนธรรมของชาติ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม่ สร้างสรรค์งานโดยประยุกต์เอกลักษณ์คุณค่าความงามจากมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไปสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และนำความเป็นไทยสู่สากลตามแนวทางในกระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป
Fashion and textile is one of the 15 kinds of business in Thai National Economic and Social Developing Plan. Obvious direction, systematic and continual of education in Fashion and Textiles is therefore necessary to support the national strength and sustainable economy. From our studies of Asian and European countries which are leaders in fashion and textiles products, it reveals that 1) Those countries have education system for develop knowledge of staffs of universities to be center of education for fashion and textile to support requirement of fashion and textile business. 2) Their education management is based on national tradition culture and social context. 3) Their universities and colleges support researching and take researches to development of products. 4) Policy and supporting in research and innovation in technology of fashion design by their governments have significant role in efficiency of education in Fashion and Textiles subjects. 5) They have national networks in fashion and textile industries and share those information with international.
Education in fashion and textile in Thailand therefore should have purpose in developing efficient persons with knowledge of national culture, modern technology and innovation as well as to encourage them taking and applying unique beauty from national heritage into products for value increasing and introducing Thai culture to international according to the concept of Creative Economy.
Download : ทิศทางการจัดการศึกษาด้านแฟชั่นและสิ่งทอ : แนวคิดการจัดการศึกษาในกระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์