The Product Development Approach of Banghuosueo Community, Samut Prakan Province Following the Sufficiency Economy Philosophy

โดย อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์

ปี 2557

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2557), หน้า 126-151

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ (Quantitative and Qualitative Research) รวมทั้งระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างขีดความสามารถด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชน เพื่อเพิ่มความหลากหลายและสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงและใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชาวบ้านสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางหัวเสือ คณะทำงานโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต แบบประเมินความพึงพอใจ การสนทนากลุ่มย่อย การจัดเวทีประชาคม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบางหัวเสือ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ชาใบขลู่ ลูกประคบสมุนไพร สบู่มะเฟือง และน้ำอัญชันพร้อมดื่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันหม่องนวดสมุนไพร และกลุ่มผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การออกแบบสัญลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ รูปแบบหัวเสือเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป ความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 อย่าง พบว่า ลูกประคบสมุนไพร สบู่มะเฟือง น้ำมันหม่องนวดสมุนไพร และแบบสัญลักษณ์อยู่ในระดับมาก ส่วน ชาใบขลู่ และน้ำอัญชันพร้อมดื่ม อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประชุมวิพากษ์แนวทางการพัฒนาชุมชนบางหัวเสือ พบว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมลงมติถึงความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตต่อยอดพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ชาใบขลู่ บรรจุภัณฑ์น้ำอัญชันพร้อมดื่ม และบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และสมาชิกชุมชนมีความต้องการฝึกอบรมผลิตภัณฑ์ยาหม่องนวดสมุนไพร เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มวิสาหกิจนวดสุขภาพบางหัวเสือ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาหม่องนวด โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น และสามารถนำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ อีกทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปเป็นวิทยากร การศึกษานอกระบบ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นที่สนใจ เป็นการแบ่งปันระหว่างชุมชน และสร้างเครือข่ายเพื่อการความยั่งยืนต่อไป

This research is qualitative and quantitative research including methods of participatory action research (PAR). The purposes of the present research were to study on an approach of promotion and product development follow up the self-sufficiency economy philosophy, and building carrying capacity for product development and transfer technology to the community for increase product variety and create high-value products by using local raw materials. The samples used in this research were citizens, a group of members of Banghuosueo community enterprise and committee of Forest Conservation Project: creating the 84 Sufficiency Sub-districts. The research tools used consisted of documents, interviews and observation form, a satisfaction survey, small group discussion, the community forum and technology transfer workshops on community enterprise. The results showed that the Product development requirements of the community divided into three groups such as the first group was packaging group: the Betel tea, Thai herb balls, Star fruit soap and Asian pigeon wings flower juice. The second group was product group: Thai herb body massages balm and the third group was media for public relations group: logo design for public relations as a tiger’s head symbol. The satisfactions of product development in all six kinds showed that Thai herb balls, Star fruit soap, Thai herb body massage balm and logo design were highly satisfied while the Betel tea and Asian pigeon wings flower juice were highest level. The results of criticism meeting on community development approach found that the participants of the meeting to vote on the possibility of bringing further development to produce packaging were the Betel tea package, ready to drink Asian pigeon wings flower juice package and Thai herb balls package. Moreover, community members were demanding training products Thai herb body massage balm to be used in Banghuosueo massage healthcare enterprises because to reduce the cost of buying a massage balm by using locally available raw materials and can be sold to customers who use the service as well. Furthermore, they can apply the knowledge gained to be a guest speaker for Non-formal education, distributed to other communities of interest. The sharing between communities and create a network for sustainability.

 

Download : รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือ จังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง