Demand for Development in Accounting Knowledge for Administrative’s Financial Officers at Nonthaburi Sub-district

โดย ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์

ปี 2557

วารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2557 หน้า 78-91

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้ทางบัญชี และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความรู้ทางบัญชีของบุคลากรส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 93 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบปลายเปิดและปลายปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 12 ปี สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการพัฒนาความรู้ทางบัญชี ผลการวิจัยด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางบัญชีของบุคลากรส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี พบว่าบุคลากรส่วนการคลังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางบัญชีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดทำรายงาน เป็นอันดับแรก รองลงมา ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการบันทึกบัญชีและการจัดทำทะเบียน และมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดยสนใจพัฒนาความรู้ด้วยวิธีการเข้ารับการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกอบรมควรเป็นวันทำการ (จันทร์-ศุกร์) และระยะเวลา 5 วัน ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ทางบัญชี ส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาหรืออุปสรรคในการพัฒนาความรู้ทางบัญชีคือ งบประมาณในการอบรมสัมมนา

The aim of this research was to study the demand in accounting knowledge development of the administrative financial officers from sub-district administrative office in Nonthaburi province. The purposive sampling was used in the study. There were 93 financial officers obtained from the sampling. Self-administrated questionnaires were used to collect the data. The questionnaire included both open-ended and close-ended questions. The reliabilities of the questionnaires was 0.99. The descriptive statistics such as percentage, means and standard deviation were calculated in order to explain the research findings.

It found that most of the participants were female at the age of 25-34 years old holding bachelor degree in Accounting. They were head of Financial Officer position with over 12 years experience in the large sub-district administrative office. However, they have never developed their accounting knowledge.

In addition, the research found that the financial officers highly demanded to develop their knowledge in financial reporting, accounting recording, registration, and accounting software. They suggested that training and seminar should be organized for the financial knowledge development. They would prefer to have the training for 5 days during working days. They also considered the training and seminar budget as the knowledge development limitation.

 

Download : ความต้องการพัฒนาความรู้ทางบัญชีของบุคลากรส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี