โดย ดรุณี คำนวณตา และ สุชีพ พิริยสมิทธิ์

ปี 2557

วารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2557 หน้า 151-169

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในด้านองค์ประกอบ กระบวนการ และรูปแบบความร่วมมือ (2) เพื่อศึกษาผลผลิตและผลลัพธ์ความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือกับผลผลิตและผลลัพธ์ในการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แบ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 14 คน และการแจกแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนจากภาคเอกชน และจากภาคประชาคมสังคม (องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรที่มีพื้นฐานจากชุมชน) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

(1) องค์ประกอบด้านต่างๆ ของความร่วมมืออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในด้านต่างๆ ได้ดังนี้ ด้านความร่วมมือ ด้านผู้มีส่วนได้เสีย ด้านทรัพยากรการบริหารด้านข้อมูล /ความรู้ (2) กระบวนการในความร่วมมืออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในด้านต่างๆ ได้ดังนี้ ด้านการวางแผน/การตัดสินใจ ด้านกระบวนการ/วิธีการร่วมมือ (3) รูปแบบความร่วมมืออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในด้านต่างๆ ได้ ดังนี้ ความร่วมมือแบบร่วมงาน (Cooperation) ความร่วมมือแบบประสานงาน (Coordination) ความร่วมมือแบบมุ่งผลสำเร็จ (Collaboration) และความร่วมมือแบบเครือข่าย (Network)

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือกับการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 6 ด้าน คือ (1) ด้านองค์ประกอบกับผลผลิต (2) ด้านองค์ประกอบกับผลลัพธ์ (3) ด้านกระบวนการกับผลผลิต (4) ด้านกระบวนการกับผลลัพธ์ (5) ด้านรูปแบบความร่วมมือกับผลผลิต (6) ด้านรูปแบบความร่วมมือกับผลลัพธ์ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย มีดังนี้ (1) ควรศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยวที่ประสบผลสำเร็จระหว่างชุมชนระหว่างจังหวัด และระหว่างภูมิภาค (2) ควรศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นตัวแบบที่เหมาะสมหรือเป็นต้นแบบให้องค์การบริหารส่วนตำบลอื่นต่อไป (3) ควรศึกษาการขยายผลของการศึกษานี้ไปยังประเทศพม่าจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน (4) ควรศึกษาโครงการพระราชดำริในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

This study has three objectives: (1) to explore the collaboration on tourism management in Mae Hong Son Province concerning components, processes, and types of collaboration, (2) to identify outputs and outcomes of such collaboration, and (3) to find out the relationship between such collaboration and its outputs and outcomes. This study is carried out on the basis of a qualitative and a quantitative approach by collecting data from people involved in tourism business in Mae Hong Son Province: using in-depth interviews of 14 key informants and distributing 400 questionnaires to a sample group composed of relevant administrators or responsible officers in the public sector, and representatives from the private sector and the people sector (non-governmental organizations and community-based organizations). Statistics employed for data analysis are frequency, percent, average or mean, standard deviation and correlative analysis of Pearson. As a result of the study, it is founthat (1) all the components of collaboration are rated high ranking in order from top to bottom as follows: collaboration, stakeholders, administrative resources, and information/knowledge; (2) collaboration processes are rated high ranking in order from top to bottom as follows: planning/ decision-making, procedure/collaboration method; (3) types of collaboration are rated high ranking in order from top to bottom as follows: cooperation, coordination, collaboration, and network. As a result of hypothesis testing, it is found that the relationship between the collaboration and the tourism management is rated high and in the same direction in all six aspects: components and outputs, components and outcomes, processes and outputs, processes and outcomes, types of collaboration and outputs, and types of collaboration and outcomes. It is suggested that further studies should be employed in three areas: (1) a comparative study of effective collaboration on tourism management among communities, and regions; (2) a study of types of collaboration among local district administrations and community-based tourism networks in order to develop an appropriate model or a prototype for other local district administrative; (3) a study on an extension of the result of this study to Myanmar from Mae Hong Son Province; (4) a study of Royal Initiative Projects in Mae Hong Son Province that will be beneficial to sustainable tourism management.

 

Download : ความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน