โดย วนิดา ฉินนะโสต
ปี 2548
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทของที่ระลึกให้เป็นเอกลักษณ์ของจัดหวัดปทุมธานี เพื่อผลิตของที่ระลึกโดยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำดินและการขึ้นรูปด้วยการอัดดิน เพื่อทำบรรจุภัณฑ์และเพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทของที่ระลึกให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี ตอนที่ 2 เพื่อผลิตของที่ระลึกโดยขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การอัดดินและการหล่อน้ำดินและทำบรรจุภัณฑ์ และตอนที่ 3 เพื่อสำรวจและประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้สนใจและบุคคลทั่วไปผลการวิจัยพบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทของที่ระลึกให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แก้วน้ำพร้อมจานรองรูปแบบที่ 13 ชุดบูชาพระรูปที่ 10 ขวดไวน์หรือขวดสาโท รูปแบบที่ 7 ชามก๋วยเตี๋ยวเรือ รูปแบบที่ 10 ผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งอาคารและสวน รูปที่ 11และผลิตภัณฑ์ปลูกไม้น้ำติดผนัง รูปแบบที่ 7 นำรูปแบบที่ได้รับการคัดเลือกมาผลิตเครื่องปั้นดินเผาเผาที่อุณหภูมิ 800 ocและ 1,200 oc ผลิตภัณฑ์แก้วน้ำพร้อมจานรองที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งอาคารและสวนขึ้นรูปด้วยการอัดดิน ผลิตภัณฑ์ชุดบูชาพระ ขวดไวน์หรือขวดสาโท ชามก๋วยเตี๋ยวและผลิตภัณฑ์ปลูกไม้น้ำติดผนัง ขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำดิน สูตรเนื้อดินปั้นมีความเหมาะสมกับการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ด้วยวิธีการอัดดิน ด้วยวิธีการหล่อน้ำดินเคลือบด้วยน้ำเคลือบเฟลด์สปาร์และเหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์ ผลการสรุปการสำรวจด้านความพึงพอใจ ต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากผู้สนใจและบุคคลทั่วไป พบว่าผลิตภัณฑ์ชามก๋วยเตี๋ยวเรือ ลักษณะเป็นเรือเป็นลำดับที่หนึ่ง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย4.10 ผลิตภัณฑ์แก้วน้ำพร้อมจานรองลักษณะเป็นดอกบัวและใบบัวเป็นลำดับที่สอง มีค่าเฉลี่ย 3.90และผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งอาคารลักษณะเป็นนกปากห่าง เป็นลำดับที่สาม ค่าเฉลี่ย 3.85
Download : การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี