Yarn processing of Nypa Fruticans Wurmb
โดย อัจฉริยา ม่วงพานิล
ปี 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการแยกเส้นใยจากก้านโหม่งจาก ศึกษาลักษณะและสมบัติทางกายภาพของเส้นใยจาก้านโหม่งจาก ศึกษากระบวนการผลิตเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยก้านโหม่งจากกับเส้นใยฝ้าย ทั้ง 3 อัตราส่วนคือ (1 :0) (1:1) และ (1:3) แต่ละอัตราส่วนปั่นจำนวน 1-3 รอบ และทดสอบลักษณะและสมบัติทางกายภาพของเส้นด้ายก้านโหม่งจาก
วัตถุดับที่ใช้ในการวิจัยคือ ก้านโหม่งจาก ในพื้นที่อำเภอปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการและ “ผ้ายจัน” ฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองปลูกที่บ้านโนสะอาด ตำบลหนองบัว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย การทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design ; RCBD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่าเส้นใยก้านโหม่งจากมีความยาว 80-100 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตร ลักษณะผิวสัมผัสจะขรุขระ ไม่เรียบและแข็งกระด้าง หลังผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรก ลักษณะภาพตามยาวของเส้นใยมีการจัดเรียงเส้นใยเป็นระเบียบ ภาพตามขวางประกอบด้วยเซลล์หลายๆ เซลล์ ลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยม มีลูเมนตรงกลาง ความแข็งของเส้นใยโดยเฉลี่ย 18.3 นิวตัน และความยาวโดยเฉลี่ย 18.3 นิวตัน และความยาวโดยเฉลี่ย 91.5 เซนติเมตร ผลการศึกษาการผลิตเส้นด้ายใยผสมพบว่าก้านโหม่งจาก 1 ก้าน มีน้ำหนัก 550 กรัม หลังผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรก (Scouring) มีน้ำหนักคงเหลือ 430 กรัม เมื่อนำมามัดต่อกันให้เป็นเส้นด้าย มีความยาว 35.1 เมตร ผลการทดสอบลักษณะและสมบัตของเส้นด้ายพบว่า เส้นด้ายจากก้านโหม่งจากที่อัตราส่วนผสม เส้นใยก้านโหม่งจาก 1 เส้น : เส้นด้ายฝ้าย 1 เส้น (1 : 1) ปั่นจำนวน 2 รอบ มีความแข็งแรงมากที่สุด 13.41 นิวตัน มีขนาดเส้นด้ายเท่ากับ 33.04 (Tex) และมีจำนวนเกลียว 6.5 เกลียวต่อนิ้ว ทิศทางการเข้าเกลียวแบบ S-turn