Water quality monitoring and biodiversity of phytoplankton in the rama IX lake, Pathumthani province province from 2011 to 2012

โดย วลีวรรณ แฉ่งประเสริฐ

ปี 2556

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามคุณภาพน้ำ และศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชในสระเก็บน้า พระราม 9 จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บตัวอย่างน้ำ และแพลงก์ตอนพืชทุกเดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2554 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 ในบริเวณ 2 จุดเก็บตัวอย่าง คือ จุดเก็บตัวอย่างที่ 1 จุดกึ่งกลางของสระเก็บน้ำ พระราม 9 และจุดเก็บตัวอย่างที่ 2 จุดสูบน้ำ ดิบเพื่อนำมาทำน้ำ ประปาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปัจจัยคุณภาพน้ำ ที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านกายภาพ เคมีชีวภาพ โลหะหนักบางประการ และศึกษาปริมาตรชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชเพื่อนามาเป็นข้อมูลในการประเมินคุณภาพน้ำ ในสระเก็บน้ำ พระราม 9

ผลการศึกษาคุณภาพน้ำ เมื่อพิจารณามาตรฐานน้ำ ผิวดินตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2537 โดยเฉพาะค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ไนเตรท-ไนโตรเจนแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและแบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม ทองแดงแมงกานีส สารหนู และปรอท สามารถจัดคุณภาพน้ำ ทั้ง 2 จุดเก็บตัวอย่างให้อยู่ในประเภท 2-3 คือ สามารถนำน้ำ ไปอุปโภคและบริโภคได้ โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ทั่วไปก่อน จากการศึกษาโลหะหนักในน้ำ พบตะกั่วในจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 เดือนธันวาคม พ.ศ.2554 มีค่าเท่ากับ 0.063 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินมาตรฐานน้าผิวดินที่กำหนดไว้ที่ 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบโครเมียมในจุดเก็บตัวอย่างที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 ที่ระดับความลึก 1 เมตร เท่ากับ 0.129 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินค่ากำหนดเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพขององค์การอนามัยโลกและเกินมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินที่กำหนดไว้ไม่ควรเกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชในจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 ดิวิชัน 81 สปีชีส์ ส่วนจุดเก็บตัวอย่างที่ 2

พบทั้งหมด 7 ดิวิชัน 79 สปีชีส์ พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นในทั้ง 2 จุดเก็บตัวอย่าง คือ Cylindrospermopsis raciborskii (Woloszynska) Seenayya & Subba Raju รองลงมา คือ Pseudanabaena limnetica (Lemmermann) Komárek, Peridiniopsis cunningtonii Lemmermann และ Trachelomonas volvocina (Ehrenberg) Ehrenberg เมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำตามระดับสารอาหาร พบว่าทั้ง 2 จุดเก็บตัวอย่าง สามารถ (4)จัดคุณภาพอยู่ในระดับสารอาหารปานกลางได้ ยกเว้นเดือนธันวาคม พ.ศ.2554 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2555 สามารถจัดอยู่ในระดับสารอาหารปานกลางถึงระดับสารอาหารสูง

จากการศึกษาสรุปได้ว่าน้ำ ภายในสระเก็บน้ำ พระราม 9 สามารถนำ ไปใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคได้ โดยต้องผ่านการบำบัดโลหะหนักคือ ตะกั่ว และโครเมียมเสียก่อน และพบ C. raciborskii มีปริมาตรชีวภาพแพลงก์ตอนพืชสูงสุดภายในสระเก็บน้ำ พระราม 9 ตลอดการวิจัย ซึ่งสามารถใช้เป็นดัชนีทางชีวภาพในการบ่งชี้คุณภาพน้ำ ในสระเก็บน้ำ พระราม 9 ได้

Download : Water quality monitoring and biodiversity of phytoplankton in the rama IX lake, Pathumthani province province from 2011 to 2012