Sulfate resistance of mortar with limestone powder

โดย สุขชัย สุขยานุดิษฐ์

ปี 2554

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาฝุ่นหินปูนมาใช้สาหรับคอนกรีตที่สัมผัสสิ่งแวดล้อมซัลเฟต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการพัฒนาคอนกรีตด้านการต้านทานซัลเฟต

การศึกษาการต้านทานซัลเฟตของมอร์ต้าร์ผสมฝุ่นหินปูนในครั้งนี้ ใช้ตัวอย่างมอร์ต้าร์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วน และของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แทนที่ด้วยฝุ่นหินปูน แทนที่เถ้าลอย และแทนที่ฝุ่นหินปูนร่วมกับเถ้าลอย แล้ววัดการขยายตัวและการสูญเสียน้าหนักของตัวอย่างมอร์ต้าร์ดังกล่าว ในสารละลายโซเดียมซัลเฟต แมกนีเซียมซัลเฟต และโซเดียมซัลเฟตผสมแมกนีเซียมซัลเฟต

ผลการศึกษาพบว่าในสารละลายซัลเฟต การขยายตัวของมอร์ต้าร์ฝุ่นหินปูน(ร้อยละ 5 และ 10) มีแนวโน้มการขยายตัวน้อยกว่าของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ล้วนแต่มากกว่าหรือใกล้เคียงกับของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ล้วน ในขณะที่มอร์ต้าร์เถ้าลอย (ร้อยละ 20 และ 40) และมอร์ต้าร์ฝุ่นหินปูนร่วมกับเถ้าลอยมีค่าการขยายตัวน้อยกว่าของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วน ส่วนการสูญเสียน้าหนักของตัวอย่างมอร์ต้าร์ผสมฝุ่นหินปูนและมอร์ต้าร์ผสมฝุ่นหินปูนร่วมกับเถ้าลอยในสารละลายซัลเฟตมีค่าไม่แตกต่างกันโดยมีค่าน้อยกว่าของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วน ในขณะที่การสูญเสียน้าหนักของมอร์ต้าร์เถ้าลอยในสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตและโซเดียมซัลเฟตผสมแมกนีเซียมซัลเฟตมีค่ามากกว่าของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วน แต่ในโซเดียมซัลเฟตกลับมีค่าน้อยกว่า และพบว่าการขยายตัวของตัวอย่างมอร์ต้าร์ที่แช่ในสารละลายโซเดียมซัลเฟตมีค่ามากที่สุด ถัดมาเป็นโซเดียมซัลเฟตผสมแมกนีเซียมซัลเฟต และแมกนีเซียมซัลเฟต ตามลำดับ ในขณะที่การสูญเสียน้ำหนักในสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตมีค่ามากที่สุด ถัดมาเป็นโซเดียมซัลเฟตผสมแมกนีเซียมซัลเฟต และโซเดียมซัลเฟตตามลาดับ ส่วนการขยายตัวและการสูญเสียน้าหนักของตัวอย่างมอร์ต้าร์ที่ใช้อัตราส่วนน้าต่อวัสดุประสานสูงกว่า จะมีค่ามากกว่าเมื่อใช้อัตราส่วนที่ต่ำกว่า สุดท้ายพบว่าสัดส่วนที่แทนที่ฝุ่นหินปูนร่วมกับเถ้าลอยในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ สามารถต้านทานซัลเฟตโดยรวมได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วน

Download : Sulfate resistance of mortar with limestone powder