A defect reduction in chrome-coated mirror process by design of experiment technique

โดย ปิยพงษ์ ริดเขียว

ปี 2555

บทคัดย่อ

กระบวนการผลิตกระจกโครเมียมในชิ้นส่วนยานยนต์ ณ บริษัทกรณีศึกษา พบปัญหาการเกิดของเสียปริมาณมากในกระบวนการผลิตกระจก โครเมียมสูงถึงร้อยละ 23 โดยพบของเสียในลักษณะเกิดรอยขูดขีดบนผิวกระจก การผิดเพี้ยนของภาพ เกิดจุดบนผิวกระจก เบื้องต้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียและปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการผลิตกระจกโครเมียม โดยนำเทคนิคการออกแบบการทดลอง ในการหาปัจจัยและระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดของเสีย และคุณภาพต่อกระบวนการผลิตกระจกโครเมียม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชิ้นงานกระจกโครเมียม ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเชิงผันแปร และเชิงแอตทริบิวต์ จำนวน 40 ตัวอย่างของแต่ละเงื่อนไขการทดลองตามแบบการทดลอง L826 โดยวิธีทากูชิ ซึ่งเป็นการออกแบบการทดลองทางเลือก มาช่วยทำการกรองปัจจัย เพื่อลดจำนวนการทดลองสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือกรณีค่ายิ่งมากยิ่งดี และกรณีค่าตรงเป้าหมายดีที่สุด ต่อจากนั้น นำปัจจัยที่ถูกกรองแล้ว เพื่อความเชื่อมั่นการทดลองโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ซึ่งเป็นการทดลองคลาสสสิค ลักษณะข้อมูลเป็นเชิงผันแปร จำนวน 58 ตัวอย่าง โดยตั้งสมมติฐานงานวิจัยความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการสะท้อนแสงที่เกิดจากการใช้เวลาในการเคลือบโครเมียมทั้ง 4 ค่าไม่มีความแตกต่างกัน

ผลการวิจัยพบว่าเงื่อนไขที่ดีที่สุดทั้งด้านการลดของเสียและปรับปรุงคุณภาพที่ดีที่สุดคือปัจจัยอุณหภูมิอลที่ 690 องศาเซลเซียส ความเร็วสายพานที่ 15 เมตรต่อนาที รูปแบบรถเข็นแบบมีร่องระบบเครื่องฝนขอบกระจกแบบใช้น้ำป้องกันเศษกระจก ระบบป้องกันฝุ่นบนสายพายแบบใช้แรงดันลม และเวลาในการเคลือบโครเมียมที่ 8 วินาที โดยสามารถลดของเสียเหลือร้อยละ 9.3

Download : A defect reduction in chrome-coated mirror process by design of experiment technique