The study performance of small sized using refrigerant R-22 with R-290
โดย สมคิด ยงหอม
ปี 2554
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนขนาดและเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อลดความดันและศึกษาความเหมาะสมในการเปลี่ยนสารทำความเย็น R-22 ไปเป็น R-290 ที่ใช้ในระบบแช่แข็งขนาดเล็ก
การศึกษาผลของการเปลี่ยนสารทำความเย็น R-22 เป็น R-290 ในเครื่องแช่แข็งขนาด 3,412 บีทียู/ชั่วโมง ด้วยการเปลี่ยนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของท่อลดความดันจาก 0.812 มิลลิเมตร 0.914 มิลลิเมตรและ 1.066 มิลลิเมตร ตามลำดับที่มีความยาวคงที่ 2,400 มิลลิเมตร และใช้ท่อลดความดันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.066 มิลลิเมตร ที่มีความยาวที่แตกต่างกันจาก 2,400 มิลลิเมตร 3,000 มิลลิเมตร และ 3,600 มิลลิเมตร ตามลำดับ ทำการทดสอบโดยการควบคุมภาระการทำความเย็นด้วย ฮีตเตอร์ไฟฟ้าแบบครีบขนาด 800 วัตต์ และควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ระบายความร้อนให้กับเครื่องควบแน่นที่ 30 ± 1 องศาเซลเซียสโดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็น (COP ) และประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้า (EER)
ผลการศึกษาพบว่าสารทำความเย็นทั้งสองชนิดมีค่า COP และ EER เฉลี่ยสูงสุดที่ท่อลดความดันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.066 มิลลิเมตร และความยาว 3,600 มิลลิเมตร ดังนี้ สารทำความเย็น R-22 มีค่าเท่ากับ 5.40 และ 18.42 ตามลำดับสารทำความเย็น R-290 มีค่าเท่า 5.81 และ 19.82 ตามลำดับ สรุปได้ว่าสารทำความเย็น R-290 มีค่าเฉลี่ยมากว่าประมาณ 7.59 % อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าค่า COP และ EER ของสารทำความเย็น R-290 เพิ่มขึ้นแต่ก็เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ประกอบด้วยสารทำความเย็น R-290 มีสารประกอบหลักคือโพรเพน (Propane) ที่สามารถติดไฟได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าไม่คุ้มค่าต่อการนำใช้ทดแทน R-22 ในปัจจุบัน
Download : The study performance of small sized using refrigerant R-22 with R-290