The development of learning process with 7 E learning cycle for grade 6 students at center for academic development nachalang huaipong yangam

โดย ธารทิพย์ ขุนทอง

ปี 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มศูนย์พัฒนาวิชาการนาเฉลียง ห้วยโป่ง ยางงาม และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มศูนย์พัฒนาวิชาการนาเฉลียง ห้วยโป่ง ยางงาม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ทั้งหมด 206 คน ในกลุ่มศูนย์พัฒนาวิชาการนาเฉลียง ห้วยโป่ง ยางงาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 โรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 40 คน ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ในกลุ่มศูนย์พัฒนาวิชาการนาเฉลียง ห้วยโป่ง ยางงาม โดยกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เทคนิคการสุ่มตามโอกาส(ตามสะดวก) (Convenience Sampling) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเหตุผล และความจาเป็นของผู้วิจัย ภายใต้ข้อจากัดต่างๆ ได้แก่ เวลา สถานที่ และความร่วมมือ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง-ไผ่ขวาง จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 20 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุมโรงเรียนบ้านปากตก จำนวน 20 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 6 ชั่วโมง การดำเนินการทดลองใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเลือกกลุ่มตัวอย่างมา 2 กลุ่มให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยคาดว่าทั้ง 2 กลุ่มจะมีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน แล้วทำการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน (Non – Randomized Control Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียน รู้ 7 ขั้นตอน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 68.40/70.69 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test Independent samplesในรูปของผลต่างของคะแนน (Difference Score)

ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มศูนย์พัฒนาวิชาการนาเฉลียง ห้วยโป่ง ยางงาม จำนวน 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Download : The development of learning process with 7 E learning cycle for grade 6 students at center for academic development nachalang huaipong yangam