Quality of customer relation management system of Sukhothai Thammathirat Open University (Stou)

โดย นพวรรณ ชื่นอารมณ์ และ สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 633-640

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้ศึกษาคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมที่มีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปัญหาอุปสรรคของระบบจัดการความสัมพันธ์ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้  Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านอายุและอายุการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในด้านความเชื่อถือได้ ด้านความสามารถในการใช้งาน ด้านประสิทธิภาพ ด้านการบำรุงรักษา และด้านความสามารถในการใช้กับระบบอื่น ด้านเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพ ด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในด้านความเชื่อถือได้ ด้านประสิทธิภาพ และด้านการบำรุงรักษา ด้านตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในด้านหน้าที่การทำงาน ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความสามารถในการใช้งาน ด้านระยะเวลาในการใช้งานที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในด้านความสามารถในการใช้งาน และด้านประสิทธิภาพ ด้านความถี่ในการใช้งานและเมนูที่ใช้งานบ่อยที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ที่ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน

The independent study was carried out to investigate the Quality of Customer Relation Management System of Sukhothai Thammathirat Open University (STOU), to examine demographic factors and behavior that affected the quality of relationship management system of Sukhothai Thammathirat Open University, and to find out the problems and obstacles of the relationship management system in order to make improvement for the efficient relationship management system.

The sample of the study comprised 100 officers of the Information Service Center of Sukhothai Thammathirat Open University. The data were analyzed through descriptive statistics consisting of Mean, Percentage, Standard Deviation, as well as inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD) at 0.05 level of significance.

The results of the study revealed that different factors on age and work experience had effects on the quality of relationship management system in the aspects of reliability, usability, efficiency, maintenance, and application to other systems. Different gender had effects on the quality of relationship management system in the aspects of efficiency. Different levels of education had effects on the quality of relationship management system in the aspects of reliability, efficiency, and maintenance. Different work position had effects on the quality of relationship management system in the aspects of work performance, reliability, and usability. Different spending time had effects on the quality of relationship management system in the aspects of usability, and efficiency. Different frequencies of using and frequencies of menu used had no effects on the quality of relationship management system in all aspects.

 

Download : คุณภาพระบบจัดการความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช